AR VR MR และ Immersive Technology คืออะไร

AR และ VR คืออะไร ความแตกต่างที่เหมือนกันหรือไม่?

สวัสดีครับคุณผู้อ่าน วันนี้มาพบกันในช่วงกลางพฤศจิกายน เมืองไทยเริ่มเข้าสู่หน้าหนาวกันแล้วใช่มั้ยครับ หวังว่าคงช่วยดับร้อนได้มากขึ้นนะครับ โอเครอบนี้มาในหัวข้อที่คาดว่าเทคโนโลยีนี้น่าจะมีการใช้งานเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในอนาคตครับ หลาย ๆ ท่านน่าจะเคยได้ยินมาบ้างแล้วนั้นก็คือ AR และ VR นั่นเอง แล้วมันคือเทคโนโลยีอะไรล่ะ เดี๋ยวผมจะแจกแจงให้เข้าใจกันมากขึ้นนะครับ

โดยมีหลักการทำงานคือใช้ Sensor ในการตรวจจับภาพ, เสียง, การสัมผัส หรือ การรับกลิ่น แล้วจะสร้างภาพ 3 มิติขึ้นมาตามเงื่อนไขที่ได้รับ ด้วยการประมวลจาก Software โดยผู้ใช้งานจะต้องมองผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่แสดงภาพได้ ไม่ว่าจะเป็น แว่นตา, จอภาพ, จอ Smartphone หรือ คอนแทคเลนส์ ที่เป็น Hardware

• None Marker-Based – จะใช้วิธีติดตั้งในใบปลิว หรือ วัตถุต่าง ๆ โดยผู้ใช้งานสามารถดูภาพ 3 มิติได้จากการนำกล้องของ Smartphone ไปส่องที่วัตถุนั้น เช่น กระดาษเปล่าที่เมื่อส่องด้วยกล้อง Smartphone จะเจอข้อมูลแสดงขึ้นมา

• None Markerless – ผู้ใช้งานสามารถหยิบจับวัตถุมาวางในโลกจริงได้ ผ่าน Application เช่น นำเฟอร์นิเจอร์เสมือนมาวางไว้ที่ห้อง ก่อนจะไปซื้อมาใช้จริง

• None Location-Based – หากนำกล้อง Smartphone ส่องไปยัง Location-Based AR จะแสดงผลข้อมูลของสถานที่นั้น ๆ อ้างอิงจาก GPS เช่น แสดงป้ายบอกทาง และ ชื่อถนน

• None การดูภาพ 3 มิติ จากการเปิดกล้องใน Smart phone ใช้เป็นสื่อการสอนในโรงเรียนได้

• None แสดงเนื้อหาประกอบในสถานที่จริงนั้น ๆ เช่น เป็นป้ายบอกทาง (ของ Google) หรือ ใช้ในธุรกิจการท่องเที่ยว ตามสถานที่ท่องเที่ยว เช่น พิพิธภัณฑ์

• None ใช้กับการเล่นเกมส์ ที่เกี่ยวกับ Location เช่น Pokemon GO

• None ใช้ในงานแสดงศิลปะ โดยให้ความละเอียดที่อ้างอิงจากชิ้นงานจริง

ย่อมาจาก Virtual Reality เป็นเทคโนโลยีที่จำลองสถานที่ขึ้นมาเป็นโลกเสมือนโดยส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับการมองเห็น โดยผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมที่จำลองขึ้นมาได้ผ่านอุปกรณ์ เช่น แป้นพิมพ์, เม้าส์ หรือ ว่าอุปกรณ์ที่ทำขึ้นมาโดยเฉพาะ เช่น ถุงมือ, รองเท้า เป็นต้น

VR จะไม่มีชนิดแบ่งแยกชัดเจน เนื่องจากจำเป็นต้องใช้แว่นตา, Smartphone หรือ อุปกรณ์สวมใส่เพื่อใช้ในการเข้าไปสู่โลกเสมือน แต่จะมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ช่วยให้สมจริงยิ่งขึ้น เช่น เครื่องจำลองการขยับของรถไฟเหาะจำลอง, เครื่องสร้างการสั่นสะเทือน

• None ใช้ในการเล่นเกมส์ เช่น เกมส์แนว FPS (จำพวกยิงปืน) จะปืนจำลองให้ถือไปในระหว่างเล่น และ ตัวจำลองการเดินและวิ่งที่ผูกติดตัวเราไว้ คล้าย ๆ กับ Treadmill

• None ใช้ในการจำลองการฝึกหัดทางทหาร เช่น การกระโดดร่ม โดยจะต้องใช้อุปกรณ์เสริมเป็นชุดกระโดดร่มจริง และ อุุปกรณ์ที่รั้งตัวให้สูงจากพื้น

• None ใช้ในการสวมเพื่อจำลองห้องที่มีการตกแต่งแล้ว (บริษัทอสังหาริมทรัพย์บางรายมีการใช้เทคโนโลยีนี้ในการโครงการใหม่เพื่อช่วยให้อ้างอิงจากสถานที่จริงได้ง่ายขึ้น)

ความจริงแล้วเทคโนโลยีของทั้ง AR และ VR สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้อีกมากมาย ผู้เขียนยกเพียงตัวอย่างที่ส่วนใหญ่จะใช้งานเป็นหลักมาครับ

หมายเหตุ : Blog นี้เป็นเพียงมุมมองและความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับ

VR AR MR ไขความลับ ก้าวผ่านความจริงสู่โลกอนาคต

หากใครที่เคยผ่านตากับการรับชมภาพยนตร์เรื่อง READY PLAYER ONE (สงครามเกมคนอัจฉริยะ) มาก่อนคงมองภาพเทคโนโลยีโลกเสมือนจริงได้ไม่ยาก

วันนี้ AIS. D.C. ขออาสาพาคุณย้อนเวลาตามรอยไขความลับความสำเร็จของโลกเสมือนจริงสู่อนาคตและการต่อยอดได้ไม่รู้จบ ของ Virtual Reality, Augmented Reality และ Mixed Reality

ย้อนกลับไปเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณ 40 กว่าปีที่แล้ว โดยนายอีแวน ซูเทอร์แลนด์ (Ivan Sutherland) ได้ทำการประดิษฐ์จอภาพสวมศีรษะสามมิติขึ้นมาครั้งแรกและนำไปใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์กราฟิกที่ถูกพัฒนาขึ้น ทันทีที่ผู้ใช้งานสวมจอภาพไว้ที่ศีรษะ ภาพลักษณะสามมิติที่ถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์จะปรากฏขึ้นมาทันทีแบบ 360 องศา

หลังจากนั้นกระแสเรื่องของโลกเสมือนจริง ถูกปลุกขึ้นอีกครั้งด้วยสองแบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง Samsung และ Google ที่ได้นำเทคโนโลยี Virtual Reality (VR) มาใช้และกลายเป็นผลิตภัณฑ์ในเวลาต่อมา แต่ความน่าสนใจคือการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วการถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และการนำไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายแขนงทั้งทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจและด้านความบันเทิง

ในช่วงแรกเทคโนโลยีเสมือนจริง ถูกนำไปพัฒนาเป็นเทคโนโลยีจำลองการบิน ซึ่งได้มีการปรับปรุงให้จอภาพสวมหัวสามมิติมีความสมจริงมากยิ่งขึ้น เพื่อให้นักบินที่สวมใส่เกิดความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม อีกทั้งในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ยังมีการวิจัยเทคโนโลยีความเป็นจริงประดิษฐ์ (Augmented Reality) ไปพร้อมกันด้วย

อย่างไรก็ตามในยุคแรกนั้นเทคโนโลยีเสมือนจริงยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักเนื่องจากอุปกรณ์มีราคาสูง และมีขั้นตอนยุ่งยากและซับซ้อนในการจำลองสภาพแวดล้อมจริงให้เกิดขึ้น

ปัจจุบัน VR หรือ Virtual Reality ถูกพัฒนาให้เข้าถึงง่ายขึ้นทั้งในรูปแบบบนมือถือ รองรับทั้งการใช้คู่กับแว่นตา VR และแบบไม่ต้องใช้แว่นตา หรือ บนคอมพิวเตอร์ รองรับอุปกรณ์เสริมอย่างแว่นตา VR, Oculus Rift, HTC Vive และ Samsung Gear

• Immersive Systems : เป็นเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนสำหรับส่วนบุคคล โดยใช้จอภาพสวมศีรษะ ในการแสดงภาพและเสียงของโลกเสมือน

• Telepresence : เป็นระบบเสมือนจริงที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณระยะไกลไว้ที่อุปกรณ์หนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นหุ่นยนต์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น เพื่อให้เชื่อมต่อการใช้งานเข้ากับผู้ใช้

• Augmented/Mixed Reality Systems : การรวมกันของ Telepresence กับ Virtual Reality Systems โดยใช้ Telepresence เป็นตัวนำเข้าข้อมูล และ Virtual Reality Systems ในการแสดงผลภาพเสมือนจริงให้กับผู้ใช้ได้เห็น เช่นการแสดงภาพเสมือนจริงของสมองคนไข้ให้กับศัลยแพทย์

เทคโนโลยีความเป็นจริงประดิษฐ์เป็นโลกเสมือนจริงที่มีบางสิ่งขึ้นมาซ้อนทับอยู่บนโลกจริง โดยสร้างสิ่งของหรือตัวละครแบบลอยและทับอยู่ด้านบนเท่านั้น ดูคล้ายๆ กับมาปรากฏบนโลกจริงของเรา เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ผสานความเป็นจริง (Real World) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual World) โดยใช้วิธีการซ้อนภาพเสมือนแบบสามมิติ ซึ่งถูกสร้างขึ้นด้วยเทคนิคทางคอมพิวเตอร์โดยการสร้างโมเดลสามมิติด้วยภาพที่รับจาก กล้องวิดีโอ เว็บแคม หรือกล้องในโทรศัพท์มือถือ แบบเฟรมต่อเฟรม และซ้อนทับลงบนภาพฉากหลัง ซึ่งเป็นภาพที่ปรากฏอยู่บนโลกจริง

• Marker เป็นการกำหนดตำแหน่ง และมุมมองของภาพเสมือน ให้กับคอมพิวเตอร์ที่จะทำการสร้างภาพเสมือน

• กล้อง Webcam มือถือ หรือตัวจับ Sensor อื่นๆ ซึ่งใช้เป็นตัวนำเข้าข้อมูลในการนำเข้าภาพเพื่อมาวิเคราะห์เป็นโมเดล

• ส่วนของการแสดงผล ซึ่งอาจจะเป็นจอภาพคอมพิวเตอร์ จอภาพของ Smartphone หรืออุปกรณ์อื่นที่ใช้ในการแสดงภาพ ส่วนของการประมวลผลภาพที่รับเข้ามา เพื่อสร้างเป็นวัตถุสามมิติ ซึ่งอาจจะเป็นโปรแกรมทางด้านกราฟิกต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างโมเดลสามมิติ ด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

สำหรับ AR นับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาระบบเทคโนโลยีภาพเสมือน ลดความซ้ำซ้อนเท่ากับ VR จึงไม่แปลกที่เทคโนโลยีนี้สามารถครอบครองในลักษณะบุคคลได้ ทำให้สามารถต่อยอดพัฒนาไปได้ในหลายด้าน หากยกตัวอย่างความสำเร็จจากผลงานที่ผ่านมาก็คงต้องให้กระแส Pokemon Go’ ที่สร้างความฮือฮา โด่งดังทั่วบ้านทั่วเมือง

MR หรือ Mixed Reality และหลายคนอาจรู้จักกันในชื่อ Merged Reality เป็นการทำงานในลักษณะของ VR และ AR ผสมผสานกันแต่จะดูใกล้เคียงกับ AR มากกว่าด้วยความสามารถในการโต้ตอบกับวัตถุเสมือนในพื้นที่จริงและเสริมด้วยการจำลองสภาพแวดล้อมซ้อนไปในพื้นที่จริงแบบ Real Time

Mixed Reality สามารถตอบสนองการใช้งานได้หลากหลายจุดประสงค์ไม่ว่าเป็นด้านความบันเทิง การแพทย์ รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งการใช้งานเทคโนโลยีเสมือนจริงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานได้อย่างเห็นผลชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี Mixed Reality (MR) ที่สามารถแสดงผล 3 มิติ

ปัจจุบันเทคโนโลยี Mixed Reality กำลังเป็นที่นิยมและขยายตัวอย่างมากในอุตสหกรรม เนื่องจากเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับการผลิต ลดต้นทุนในการฝึกอบรม และสนับสนุนการซ่อมบำรุง และในประเทศไทยเริ่มนำวิทยาการดังกล่าวมาปรับใช้

จากความเฟื่องฟูของเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง สู่การก้าวผ่านความสำเร็จจนเป็นที่นิยมและนำมาใช้งานหลากหลายแขนง ส่งผลให้การพัฒนาปรับปรุงเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเห็นการปรับปรุงได้ชัดในแต่ละยุคสมัย

ยุคบุกเบิก : VR เป็นโลกเสมือนจริงในยุคบุกเบิกที่สร้างการจำลองขึ้นมาทั้งหมดในมุมมอง 360 องศา ล้อมรอบตัวผู้เล่นจะเสมือนเข้าไปสู่โลกอีกโลกหนึ่ง มีความสมจริงเพราะสามารถจะหันเปลี่ยนมุมมองได้รอบทิศ แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องความซับซ้อน

ยุคต่อยอด : AR เป็นโลกเสมือนในยุคถัดมา ที่มีการปรับปรุงมีการสร้างบางสิ่งขึ้นมาซ้อนทับอยู่บนโลกจริง โดยการสร้างสิ่งของหรือตัวละครแบบลอยและทับอยู่ด้านบนเท่านั้น ดูคล้ายๆ กับมาปรากฏบนโลกจริงของเรา ลักษณะดังกล่าวกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ให้ยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้งานคงยกให้แอปพลิเคชันยอดฮิตอย่าง Pokemon Go

ยุคการผสมผสาน: MR เป็นโลกผสานจริง เกิดจากการนำเทคโนโลยีส่วนของ AR และ VR เข้ามาผสมผสาน สร้างบางสิ่งขึ้นมาเชื่อมโยงไปกับโลกจริง โดยมีสิ่งของหรือสภาพแวดล้อมให้เห็น มีมิติ ไม่ลอยอยู่เฉพาะด้านบนแบบ AR และตอบสนองได้ราวกับเป็นสิ่งที่มีอยู่บนโลกเราจริงๆ

AR VR MR และ Immersive Technology คืออะไร

AR (Augmented Reality), VR (Virtual Reality) และ MR (Mixed Reality) จัดเป็นกลุ่ม Immersive Technology ซึ่งคอมพิวเตอร์สร้างภาพจำลองขึ้นมาแล้ววางซ้อนไว้บนโลกจริง หรือเป็นการสร้างโลกเสมือนจริงขึ้นมา โลกทั้งสองหลอมรวมผสานอย่างกลมกลืนจนอาจทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่า ทั้งสองโลกคือพื้นที่เดียวกัน เป็นเทคโนโลยีที่มีการเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วไป รวมถึงการใช้ประโยชน์ภายในองค์กรก็มีมากขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะอะไร? หาคำตอบได้ในบทความนี้

ย้อนไปในปี 1968 ที่ Ivan Sutherland ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่มีชื่อว่า The Sword of Damocles ซึ่งเป็นการนำโครงเส้นของวัตถุที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์ แล้ววางซ้อนทับลงบนโลกความเป็นจริง ดูเป็นสิ่งธรรมดามากเมื่อเทียบกับความสามารถของเทคโนโลยีในปัจจุบัน แต่การประดิษฐ์นี้ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี AR เลยทีเดียว

AR ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันสามารถแสดงข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลซ้อนลงบนโลกจริงได้อย่างกลมกลืน โดยผู้ใช้งานจะมองเห็นวัตถุต่างๆ ที่แสดงขึ้นมาโดยการดูผ่านกล้องของมือถือหรือแท็ปเล็ต ตัวอย่างการใช้งาน AR ที่คนทั่วไปรู้จัก ได้แก่ เกม Pokemon Go ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ซึ่งเราเชื่อว่าคุณก็อาจจะเป็นหนึ่งคนที่เคยมีประสบการณ์ออกตามล่าหาโปเกมอนมาแล้ว หรือแอปฯ IKEA Place ที่ช่วยให้คุณเห็นภาพว่าเมื่อวางเฟอร์นิเจอร์ชิ้นที่อยากได้ลงในตำแหน่งที่ต้องการแล้วมันจะออกมาเป็นอย่างไร ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อจริง รวมทั้ง Google Glass ที่มีการออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างกัน ให้การทำงานร่วมกันสามารถบรรลุผลได้ดียิ่งขึ้น

AR ได้ถูกนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรมและนับวันยิ่งได้รับความนิยมสูงมากขึ้น หนึ่งในนั้นคืออุตสาหกรรมค้าปลีก ซึ่งแบรนด์ได้ใช้ประโยชน์จากการที่เทคโนโลยีสามารถทำให้การนำเสนอประสบการณ์แก่ลูกค้าเป็นไปได้อย่างมีลักษณะเฉพาะตัว อันเป็นหนึ่งในปัจจัยนำไปสู่การตัดสินใจซื้อที่สูงขึ้นของผู้บริโภค

ย้อนไปในปี 1962 ที่ Morton Heilig ได้ประดิษฐ์ Sensorama ซึ่งเป็นเครื่องดูภาพยนต์ 4 มิติ ที่ได้รับการออกแบบได้อย่างน่าสนใจ เช่น ในฉากขับรถ กลไกของเครื่องจะมีการปล่อยลมออกมากระทบหน้าของผู้ชมพร้อมกับกลิ่นไอเสียของรถยนต์คันหน้า รวมถึงเก้าอี้ที่ใช้นั่งชมภาพยนต์ก็ถูกออกแบบให้ขยับได้ และกลไกที่ถูกออกแบบไว้จะสร้างแรงสั่นสะเทือนเมื่อพื้นถนนที่มีความขรุขระ ให้ความรู้สึกราวกับว่าผู้ชมกำลังขับรถอยู่จริงๆ และเครื่อง Sensorama นี้ ก็ได้ชื่อว่าเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี VR

VR เป็นโลกเสมือน 3 มิติ อุปกรณ์หลักที่ต้องใช้คือ headset เมื่อผู้ใช้งานสวมเข้ากับศีรษะแล้วจะตัดการมองเห็นออกจากโลกจริงโดยสิ้นเชิง บริษัทที่มีการผลิตอุปกรณ์ VR ที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่ Sega (1991) Nitendo (1995) Oculus (2012) Google (2014) HTC (2015) Sony (2016)

เกมดูจะเป็นอุตสาหกรรมแรกๆ ที่คนทั่วไปจะคิดถึง เมื่อพูดถึง VR โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภาพยนต์ฮอลลีวูดเรื่อง “Ready Player One” ซึ่งกำกับโดย Steven Spielberg ออกฉายในปี 2018 ได้บอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนในปี 2045 ที่เลือกใช้เวลาในการเข้าไปอยู่ใน Oasis เพื่อเอาชนะการแข่งขันที่ถูกกำหนดขึ้น เป็นโลกเสมือนที่ให้ตัวละครสามารถเลือกที่จะเป็นใครและทำอะไรก็ได้ พูดได้ว่าเป็นอีกโลกหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นตามจินตนาการของของผู้ที่เขียนโปรแกรมดังกล่าว หนังประสบความสำเร็จอย่างมาก จนทำให้กระแสของ VR เป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวาง

VR เองได้ถูกใช้งานในหลายอุตสาหกรรมเช่นกัน ทั้งวงการการศึกษา การแพทย์ การทหาร และกีฬา เพิ่มประโยชน์และความสะดวกในการเรียนการสอนและการจัดฝึกอบรม

เป็นการผสานโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกเสมือนเข้าด้วยกัน เป็นเทคโนโลยีที่ต่อยอดมาจาก AR ทำให้คุณตอบโต้กับภาพที่คอมพิวเตอร์ประดิษฐ์ขึ้นมาได้ ซึ่งคุณยังคงต้องใช้ headset หรือแว่นตาเพื่อให้สามารถมองเห็นภาพเสมือนนั้น แต่ในขณะเดียวกันคุณก็สามารถมองเห็นโลกจริงด้วย อีกทั้งจะไม่ถูกจำกัดอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งขณะกำลังใช้งาน เรียกได้ว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยี AR และ VR

การใช้งาน MR มีในหลายวงการ เช่น การศึกษา การอบรมและพัฒนา กีฬา สุขภาพ การออกแบบ การผลิต และภาระกิจทางอวกาศ

Microsoft ได้พัฒนาแว่น MR ที่ชื่อว่า Hololens ทำให้คุณสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับ object ที่เป็น 3D hologram ได้ สามารถใช้มือของคุณในการสั่งการได้ แต่เนื่องจากตอนเปิดตัวตัวอุปกรณ์มีราคาสูงกว่า 100,000 บาท ทำให้การที่ผู้คนทั่วไปจะสามารถเข้าถึงได้นั้นเป็นเรื่องยาก ดังนั้น Microsoft จึงเน้นการใช้งานไปที่ภาคอุตสาหกรรม งานช่าง งานทางการแพทย์ การออกแบบที่ต้องใช้การฝึกฝีมือมากกว่าการใช้งานทั่วไป

• AR เป็นการซ้อนภาพที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์ เข้ามาในโลกแห่งความจริง

• MR เป็นการให้คุณสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับภาพที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นโดยไม่ตัดคุณออกจากโลกจริง

Immersive Technology เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเราอย่างรวดเร็ว ทั้งช่วยให้เรามีประสบการณ์ที่ดีขึ้นในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะช่วยให้คุณตัดสินใจซื้อของได้ตรงกับความต้องการมากยิ่งขึ้น ช่วยทำให้การ training หรือระดมความคิดจากผู้ทำงานที่อยู่คนละพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยรักษาคุณภาพของการสื่อสารและการทำงานร่วมกันในรูปแบบ work from home, hybrid work หรือ workation ได้เป็นอย่างดี

====================

เราตระหนักดีว่าความต้องการและเป้าหมายของแต่ละองค์กรนั้นไม่เหมือนกัน ทำให้การเตรียมความพร้อมในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์แตกต่างกันตามบริบทของแต่ละองค์กร เราจึงยินดีให้คำปรึกษาและบริการตรวจสุขภาพของระบบไอทีวันนี้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ติดต่อเราได้ที่ 02-679-8877 หรืออีเมล

Leave a Comment