หุ่นยนต์ดูดฝุ่น กับ 5 ข้อควรพิจารณาก่อนซื้อ

(28) “ดินสอ” หุ่นยนต์ไทย ก้าวต่อไปไม่หยุดยั้ง

หลายปีก่อน “คนไทย” กับ “การผลิตหุ่นยนต์” อาจเป็นสิ่งที่คาดไม่ถึง แต่ปัจจุบันหลายบริษัทสัญชาติไทยเป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์หรืออุปกรณ์อัตโนมัติ และบริษัท ซีที เอเซียโรโบติกส์ จำกัด ก็เป็นบริษัทไทยชั้นนำเจ้าของหุ่นยนต์ “ดินสอ” ซึ่งหลายคนรู้จักเป็นอย่างดี

“ดินสอ” ถือกำเนิดในฐานะหุ่นยนต์เพื่อการบริการรายแรกของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี2552 ซึ่งในวันนั้นความสำเร็จคือการประกอบให้มีรูปร่างเป็นหุ่นยนต์และสามารถบังคับให้เคลื่อนไหวตามสั่งได้เป็นหุ่นยนต์ต้นแบบที่ไม่มีขีดความสามารถอื่นๆ

ต่อมาบริษัทได้พัฒนาและเติมความสามารถต่างๆ ให้กับ“ดินสอ” เช่นความสามารถในการมองเห็นการสื่อสาร และเคลื่อนที่ได้อัตโนมัติโดยไม่ชนกับมนุษย์หรือสิ่งกีดขวาง เป็นต้น ซึ่งเป็นการพัฒนาทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ควบคู่กันไป

ดังนั้นในปี 2553 บริษัทจึงมุ่งพัฒนา “ดินสอ” สู่เชิงพาณิชย์ ด้วยการส่งหุ่นยนต์ดินสอจำนวน 10 ตัว ไปเปิดตัวกับลูกค้าในร้าน สุกี้ชื่อดัง “เอ็มเค เรสโตรองค์” ด้วยการรับคำสั่งแล้วไปเสิร์ฟอาหารให้แก่ลูกค้า พร้อมทั้งตอบโต้และแสดงอารมณ์ความรู้สึกได้ เป็นการสร้างสีสันให้ร้านอาหารได้เป็นอย่างดีจึงไม่น่าประหลาดใจที่ในปี2554หุ่นยนต์ดินสอจำนวน 14 ตัว ได้ไปเสิร์ฟอาหารไกลถึง ร้านอาหารใน Lidköpingประเทศสวีเดน

ในปี 2558 บริษัทได้ก้าวสู่งานบริการด้านสุขภาพเต็มตัว ด้วยการผลิตหุ่นยนต์ดินสอรุ่นที่สามารถดูแลผู้สูงอายุได้ซึ่งขณะนี้บริษัทกำลังจะเปิดตัวหุ่นยนต์ดินสอสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ต้องนอนติดเตียง และรุ่นที่สามารถเคลื่อนไหวในบ้านพักอาศัยได้

หุ่นยนต์ตัดหญ้า เทคโนโลยีที่ทำให้เรื่องดูแลสวน ดูแลสนามหญ้า เป็นเรื่องง่ายมาก

บทความนี้จะพามาทำความรู้จักกับเทคโนโลยีของ “หุ่นยนต์ตัดหญ้า” หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “โรบอทลอนโมเวอร์ (Robot Lawn Mower)” หรือบางที่อาจจะเรียกมันว่า “โรโบติกส์ลอนโมเวอร์ (Robotic Lawn Mower)” หุ่นยนต์ที่จะเข้ามาช่วยให้การดูแลสวน ดูแลสนามหญ้าของคุณเป็นเรื่องง่ายนิดเดียว ให้หญ้าของคุณสั้นอยู่ตลอดเวลา เดินนุ่มสบายเท้า แถมยังปลอดภัยจากสัตว์ร้ายที่อาจซ่อนตัวอยู่ในหญ้าที่ยาวๆ ได้ อาทิ งู ตัวเงินตัวทอง

หลายคนอาจจะมองเครื่องหุ่นยนต์ตัดหญ้าจากรูปพรรณสัณฐานด้านนอกของมันว่า มันน่าจะมีการหลักการ การวิ่งทำงานที่ละม้ายคล้ายคลึงกับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น อุปกรณ์แก็ดเจ็ตสำหรับบ้านและที่อยู่อาศัย (Home Appliances Gadgets) เบอร์ 1 ในปัจจุบันนี้ แต่หลังจากที่ได้ใช้งานมันแล้วพบว่า แม้การวิ่งทำงานจะคล้ายกันอยู่บ้าง แต่ระบบการนำทางนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะอย่าลืมว่า หุ่นยนต์ดูดฝุ่นใช้งานภายในอาคาร (Indoor Use) ซึ่งมีขอบเขตที่ระบุอยู่ชัดเจน นั่นคือผนังห้องที่เป็นกำแพง ประตู หรือแม้แต่เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ แต่หุ่นยนต์ตัดหญ้าใช้งานภายนอกอาคาร (Outdoor Use) ไม่มีขอบเขตที่ระบุชัดเจนดังนั้นการกั้นขอบเขตจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก

บทความนี้จะพามารู้จักกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ตัดหญ้า ว่ามันมีการทำงานอย่างไร มีการกั้นขอบเขตการตัดหญ้าอย่างไร ใครที่สนใจเทคโนโลยีด้านนี้อยู่เลื่อนเม้าส์ลงไปอ่านต่อด้านล่างได้เลย

• เปรียบเทียบข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค ของหุ่นยนต์ตัดหญ้า (ระหว่างรุ่นราคาถูกกับรุ่นราคาแพง)

ด้านล่างนี้เป็นคลิปวีดีโอขนาดความยาวเกือบๆ 20 นาที ให้คุณได้สามารถดูเพลินๆ เพื่อทำความรู้จักกับหุ่นยนต์ตัดหญ้า ได้อย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น เนื้อหาคลิปมีรายละเอียดของ ส่วนประกอบของตัวเครื่องทั้งด้านบนและด้านล่าง รวมไปถึงรายละเอียดการติดตั้งเครื่อง พร้อมกับตัวอย่างการวิ่งทำงานในสถานการณ์ต่างๆ ลองกดชมกันได้เลย

หุ่นยนต์ตัดหญ้า แท้ที่จริงแล้วมันมีประวัติที่ค่อนข้างจะยาวนาน หากย้อนกลับไปตั้งแต่ปี ค.ศ.1995 (พ.ศ.2538) มันมีหุ่นยนต์ตัดหญ้าพลังแสงอาทิตย์ (Solar Powered Robot Lawn Mower) เริ่มมาจากแบรนด์หุ่นยนต์ตัดหญ้า แบรนด์แรกถูกก่อตั้งขึ้น มันมีนามว่า MowBot แต่หลังจากนั้นก็กระแสนิยมก็ดูจะเงียบๆ ไป จนกระทั่งมาในปี ค.ศ.2012 ด้วยกระแสความนิยมของ หุ่นยนต์ทำความสะอาด รวมไปถึงกระแสนิยมการใช้สมาร์ทโฟนที่โตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงทำให้หุ่นยนต์ตัดหญ้า ได้กลับมาฟื้นคืนชีพอย่างจริงๆ จังๆ อีกครั้งหนึ่ง

หลังจากนั้นก็มีหลายๆ ยี่ห้อที่มาเริ่มมาทำตลาดด้านหุ่นยนต์ตัดหญ้านี้มากขึ้น โดยส่วนมากจะเป็นยี่ห้อที่เราจะไม่ค่อยจะรู้จักกันสักเท่าไหร่ เพราะแบรนด์ที่ทำตลาดด้านนี้จะเป็นแบรนด์ที่ผลิตเครื่องตัดหญ้าแบบดั้งเดิม เครื่องมือทำสวน หรือแม้แต่ อุปกรณ์ช่าง เสียส่วนใหญ่

แต่มีอยู่แบรนด์นึงที่คนไทยเราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีนั่นก็คือ “ฮอนด้า – Honda” แบรนด์ที่ผลิตรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ ที่เห็นกันอยู่ตามท้องถนนมากมาย ซึ่งแท้ที่จริงแล้วทางแบรนด์ Honda เองก็ไม่ได้มีแค่รถยนต์ หรือรถมอเตอร์ไซค์ตามที่เห็น แต่เขาก็ยังทำ เครื่องตัดหญ้า และหุ่นยนต์ตัดหญ้าอีกด้วย ลองมาดูแบรนด์ที่ทำหุ่นยนต์ตัดหญ้ากันดูว่า มียี่ห้อไหนที่พอจะคุ้นหูคุ้นตากันบ้าง

ถึงแม้ว่ากระแสนิยมของการใช้หุ่นยนต์ตัดหญ้าในต่างประเทศเริ่มที่จะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้าพูดถึงในบ้านเรานั้น กระแสนิยมยังถือว่าไม่ค่อยมากเท่าไหร่นัก ถ้าเทียบกับกระแสการใช้งานหุ่นยนต์ดูดฝุ่น เนื่องจากมีราคาค่าตัวค่อนข้างสูงอยู่ โดยลูกค้าส่วนใหญ่ที่นำหุ่นยนต์ตัดหญ้าไปใช้ในเมืองไทย ก็เห็นจะเป็นบ้านเศรษฐีคนรวย ที่มีพื้นที่สนามหญ้าค่อนข้างกว้าง รวมไปถึงการนำไปใช้ในสนามกีฬา อย่างสนามฟุตบอลต่างๆ ก็เริ่มจะมีให้เห็นกันบ้างแล้ว แต่ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับคนไทย

โดยหุ่นยนต์ตัดหญ้าที่เข้ามาทำตลาดในเมืองไทย เท่าที่เห็นมีอยู่ 2 แบรนด์คือ Husqvarna (ฮุสวาน่า) จากประเทศสวีเดน (Sweden) และ Gardena (กาเดร์น่า) จากประเทศสหรัฐอเมริกา (USA)

แต่ทั้ง 2 แบรนด์มาจากผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายจากบริษัทเดียวกัน นั่นก็คือ บริษัท สไปคา จำกัด (SPICA Company Limited) (บริษัทที่เอื้อเฟื้อเครื่องหุ่นยนต์ตัดหญ้า Husqvarna Automower 430x มาให้ทดลองใช้งานและรีวิว)

อุปกรณ์พื้นฐานหลักๆ ที่มากับกล่องผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์ตัดหญ้าก็จะมีเครื่องหุ่นยนต์ตัดหญ้า /แท่นชาร์จ และ ชุดอะแดปเตอร์ชาร์จไฟ ขณะที่ชุดสายไฟกั้นขอบเขต จะต้องซื้อเป็นชุดติดตั้งแยกต่างหาก ซึ่งราคาก็จะขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของสนามหญ้า

รูปทรงของหุ่นยนต์ตัดหญ้าจะดูคล้ายๆ กับเครื่องตัดหญ้ารถเข็นทั่วๆ ไปที่เราคุ้นตากันอยู่ แต่จะไม่มีด้ามจับเฉียงขึ้นมา (ก็เพราะมันเป็นหุ่นยนต์นิหน่า) โดยรูปทรงของมันจะเป็นทรงกึ่งเหลี่ยม (Semi-Square Shaped) คือตรงเครื่องของมันดูเป็นสี่เหลี่ยม แต่ที่ขอบมุมทั้ง 4 ของตัวเครื่องจะออกมนๆ (โค้งๆ) หน่อย เพื่อที่จะให้เครื่องได้สามารถวิ่งเข้าตามขอบซอกมุมของสนามหญ้าได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

โดยจะมีล้อขับเคลื่อนทั้งหมด 2 ล้อ และล้อรับน้ำหนักอีก 2 ล้อ (รวมทั้งสิ้น 4 ล้อ) (จุดนี้จะแตกต่างจากหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่ส่วนมากแล้ว จะมีแค่ 3 ล้อเหมือนรถตุ๊กตุ๊กเท่านั้น) (ส่วนประกอบบนตัวเครื่องหุ่นยนต์ตัดหญ้าเพิ่มเติม)

แท่นชาร์จ สิ่งที่เรียกว่าเป็น “บ้านของหุ่นยนต์ตัดหญ้า” จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าแท่นชาร์จของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นอย่างชัดเจน เพราะฐานของแท่นชาร์จหุ่นยนต์ตัดหญ้านี้ จะต้องรองรับตัวเครื่องหุ่นยนต์ตัดหญ้าทั้งเครื่องเอาไว้ (ดูรูปประกอบด้านล่าง) ซึ่งจะต่างกับแท่นชาร์จของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ที่จะมีแค่ส่วนของขั้วโลหะเพื่อสัมผัสกับจุดสัมผัสแท่นชาร์จที่ตัวเครื่องเท่านั้น สาเหตุเนื่องมาจากหุ่นยนต์ตัดหญ้าทำงานบนพื้นสนามหญ้า (พื้นดิน) ดังนั้นวันดีคืนดี ระดับดินตรงตัวแท่นชาร์จอาจจะต่างจากระดับดิ้นตรงที่หุ่นยนต์ตัดหญ้าวิ่งมาจอดก็เป็นได้

ชุดอะแดปเตอร์ชาร์จไฟ เป็นอุปกรณ์ที่หน้าที่ในการแปลงไฟบ้าน (ไฟฟ้ากระแสสลับ – AC Power) ไปเป็น ไฟที่ใช้ชาร์จเข้าไปในแบตเตอรี่ ที่อยู่ในตัวเครื่อง (ไฟฟ้ากระแสตรง – DC Power) ลักษณะจะคล้ายกับ ชุดอะแดปเตอร์แปลงไฟล์ของคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค แต่อาจจะมีขนาดใหญ่กว่าหน่อย

ลักษณะคือ มันจะมีสายไฟจากตัวชุดอะแดปเตอร์ชาร์จไฟไปยังปลั๊กไฟบ้าน ขณะที่อีกด้าน ฝั่งที่ออกจากชุดอะแดปเตอร์แปลงไฟ (หลังจากแปลงไฟแล้ว) ก็เป็นสายไปที่แท่นชาร์จของหุ่นยนต์ตัดหญ้า โดยจะมีสายไฟต่อพ่วงความยาว 10 เมตรให้มาด้วย

โดยภายในชุดติดตั้งทุกขนาด จะประกอบไปด้วยม้วนสายไฟกั้นขอบเขต (Loop Wire) (ความยาวขึ้นอยู่กับขนาดของชุด) รวมไปถึง หมุดปักสายไฟกับสนามหญ้า (ฺLoop Wire Peg) ข้อต่อสายไฟ (Coupler) และ ขั้วต่อไฟ (Connector)

ด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค (Technical Specification) ของหุ่นยนต์ตัดหญ้าที่จำหน่ายในประเทศไทย โดย บริษัท สไปคา จํากัด ว่าตัวแต่ละเครื่อง (ระหว่างรุ่นราคาถูกกับราคาแพง) มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร โดยหลักๆ ที่เห็นจะเป็นในเรื่องของขนาดพื้นที่รองรับ

ส่วนนี้จะเป็นส่วนของการอธิบายข้อมูลของหุ่นยนต์ตัดหญ้า ในส่วนของคุณสมบัติ และความสามารถ ว่าแต่ละอันเป็นอย่างไร โดยจะยึดจากความสามารถของ หุ่นยนต์ตัดหญ้า Husqvarna Automower 430x เป็นหลัก ดังนั้นรุ่นอื่นๆ อาจจะมีความสามารถที่มากกว่าหรือน้อยกว่านี้ก็เป็นได้

หุ่นยนต์ตัดหญ้าโดยส่วนใหญ่จะนำทางด้วยเซ็นเซอร์ที่ตัวเครื่อง และสายไฟกั้นขอบเขต ที่เดินสายรอบๆ สนามหญ้าเอาไว้ตั้งแต่ตอนติดตั้งเครื่องแล้ว เมื่อหุ่นยนต์ตัดหญ้าเดินไปอยู่เหนือสายไฟกั้นขอบเขต ก็จะเปลียนทิศทางการวิ่งทำงานด้วยการวกหันกลับเข้ามาในสนามหญ้าอีกครั้ง โดยจะไม่วิ่งล้ำสายไฟกั้นขอบเขตออกไปข้างนอกพื้นที่

นอกจากนี้แล้วหุ่นยนต์ตัดหญ้าในรุ่นสูงๆ (ราคาแพงๆ) จะมีความสามารถจดจำพื้นที่ และช่วยนำทางผ่านระบบสิทธิบัตรเฉพาะของ Husqvarna อย่าง GPS (Global Positioning System) ที่เป็นระบบระบุตำแหน่งปัจจุบัน โดยรับค่าจากดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือโลกไม่ต่ำกว่า 3 ดวง เพื่อใช้ระบุตำแหน่งปัจจุบันของตัวเครื่อง และจดจำว่าตำแหน่งไหนที่ตัดหญ้าไปแล้ว ตำแหน่งไหนที่ยังไม่ได้ตัด ดังนั้นสามารถตัดหญ้าได้ทุกสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น ตอนกลางวันหรือกลางคืน ฝนตกหรือแดดออก สบายมาก

• ตัดหญ้าเสร็จสิ้นทั่วทั้งบริเวณสนาม (ในพื้นที่ที่ติดตั้งสายไฟกั้นขอบเขตการวิ่ง) เครื่องจะวิ่งกลับแท่นชาร์จเองโดยอัตโนมัติทันที

• ผู้ใช้งานสั่งให้เครื่องกลับแท่นชาร์จเองด้วยการกดที่ “ ” ปุ่มกดปุ่มเดียวที่อยู่บนตัวแท่นชาร์จ หรือจะกดสั่งผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือก็ได้เช่นกัน

เราสามารถตั้งความยาวของหญ้า (Cutting Height) ได้ตามต้องการว่าจะให้เหลือหญ้าเอาไว้สั้นหรือยาวมากน้อยแค่ไหน มีระยะตั้งแต่ต่ำสุด (Min Height) 2 เซนติเมตร ไปจนถึงความยาวสูงสุด (Max Height) 6 เซนติเมตร โดยที่ ภายในตัวเครื่องหุ่นยนต์ตัดหญ้า จะมี มอเตอร์ปรับระดับความสูงของใบมีด ที่อยู่ ข้างใต้ตัวเครื่องหุ่นยนต์ตัดหญ้า จะคอยปรับให้ใบมีดลงมาต่ำ (ใกล้พื้นสนามหญ้า) หรือสูง ได้ตามต้องการ

การตั้งค่าความยาวของหญ้าเหล่านี้สามารถตั้งได้ผ่านทั้ง แผงควบคุมบนตัวเครื่อง และแอพพลิเคชั่น ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เหมือนกัน

นอกจากนี้แล้ว ทางผู้ผลิตเขาแนะนำว่าในระยะแรก (สัปดาห์แรกหลังการติดตั้ง และใช้งานเครื่อง) เราควรที่จะตั้งค่าเอาไว้ในระดับสูงสุดก่อน เพื่อป้องกันการที่ตัวเครื่องไปตัดเอาสายไฟกั้นขอบเขตการวิ่ง จนขาดเสียเอง แล้วค่อยๆ ลดลงทีละระดับในแต่ละสัปดาห์จนกระทั่งพอใจ

ด้วยความที่เครื่องหุ่นยนต์ตัดหญ้านี้ เป็นเครื่องที่ใช้งานภายนอกอาคาร ดังนั้นจึงเสี่ยงต่อการถูกขโมยสูง แถมยังเสี่ยงต่อการที่คนอื่นมาแอบกดปุ่มโน่นนี่เล่น ดังนั้นความปลอดภัย (Security) จึงถือเป็นสิ่งสำคัญ และจะต้องเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยพอสมควร เพราะการที่จะยกเครื่องเข้าไปเก็บในบ้านทุกวัน คงไม่ใช่เรื่องสนุกแน่ๆ เพราะตัวเครื่องเองก็มีขนาดใหญ่พอสมควร แถมน้ำหนักเครื่องมากเอาการอยู่ (ส่วนใหญ่แล้วจะเกิน 10 กิโลกรัมกันทั้งนั้น)

ในกรณีถ้าเราต้องการที่จะเข้าไปสั่งงานหรือตั้งค่าต่างๆ ของเครื่องก็ยังจะต้องใส่ชุดรหัสผ่านตัวเลข (PIN Code) อีกครั้งหนึ่งด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้แล้ว ถ้าตัวเครื่องหุ่นยนต์ตัดหญ้า ถูกยกลอยจากพื้นขึ้นโดยที่ไม่ได้ใส่ชุดรหัสผ่านตัวเลข ให้เรียบร้อยเสียก่อน เครื่องจะส่งเสียงร้อง (Alarm) ดังขึ้นมาโดยทันที แต่ถ้าเกิดมันส่งเสียงร้องขึ้นมาแล้ว แล้วเราต้องการที่จะให้เสียงร้องนั้นหยุดดัง ผู้ใช้งานจะต้องใส่ชุดรหัสผ่านตัวเลข ผ่านแผงควบคุมบนตัวเครื่อง ให้ถูกต้องลงไปก่อนเสียงร้องถึงจะดับ

ตัวเครื่องเองก็มีระบบความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายขึ้นอยู่เช่นกัน เพราะเครื่องตัดหญ้า เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่ามันใช้ “ใบมีด !” ในการตัดเฉือนหญ้าออก ซึ่งแน่นอนว่าการที่มันสามารถตัดหญ้าได้เฉียบขนาดนี้ ถ้าเกิดว่ามันโดนตัวเราหรือสัตว์เลี้ยงขึ้นมา ก็อาจจะสร้างความเสียหายต่อชีวิตได้ไม่น้อยเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้เองทางผู้ผลิตหุ่นยนต์ตัดหญ้าส่วนใหญ่จึงมีระบบความปลอดภัย (ระบบเซฟตี้) เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดฝัน โดยหลักๆ เท่าที่เห็นก็จะมีประมาณนี้

• ถ้าตัวเครื่องถูกตั้งอยู่ข้างนอกวงของสายไฟกั้นขอบเขต เครื่องจะไม่สามารถวิ่งตัดหญ้าได้เลย ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดก็ตาม ป้องกันไม่ให้เครื่องวิ่งตัดหญ้าอย่างไร้ขอบเขต

• บนตัวเครื่องหุ่นยนต์ตัดหญ้า จะมี “ ” เป็นปุ่มสีส้มๆ เด่นเป็นสง่า มีขนาดที่ใหญ่ให้กดกันง่ายๆ เพื่อใช้ในการหยุดเครื่องและปลดล็อคเปิดฝาปิดบนตัวเครื่อง

• เครื่องจะไม่มีทางวิ่งออกมาตัดหญ้าในขณะที่เรากำลังเปิดฝาปิดบนตัวเครื่อง (Hatch) เพราะมันจะเข้าใจว่าเรากำลังตั้งค่าหรือใช้งานแผงควบคุมบนตัวเครื่องอยู่

ที่ด้านบนตัวเครื่องจะมีแผงควบคุม ที่เป็นปุ่มกดและหน้าจอแสดงผล (โดยส่วนมากจะอยู่ใต้ฝาปิดบนตัวเครื่อง อีกทีหนึ่ง เพื่อป้องกันแดดและฝน และเหตุผลด้านความปลอดภัย) ให้คุณได้สามารถกดสั่งงานเครื่องและดูค่าค่างๆ ได้ง่ายๆ โดยปุ่มกดก็ไม่ได้ดูซับซ้อนหรือใช้งานยากอะไร มี “ปุ่ม Back” ไว้ถอยกลับ “ปุ่ม OK” ไว้กดเข้าสู่เมนูหรือฟังก์ชั่นต่างๆ ด้านใน รวมไปถึง “ปุ่ม START” ที่สามารถกดเพื่อสั่งให้เครื่องเริ่มตัดหญ้า (แต่ต้องปิดฝาปิดบนตัวเครื่อง) ให้เรียบร้อยเสียก่อน เครื่องถึงจะเริ่มทำงาน

มันจะแสดงเมนูหลักๆ ขึ้นมาทั้งหมด การเปลี่ยนก็เปลี่ยนด้วยการใช้ปุ่มลูกศร ขึ้น ↑ ลง ↓ ซ้าย ← ขวา → ไว้ใช้เลือกเมนู หรือเปลี่ยนค่าต่างๆ และด้านล่างมีแผงแป้นตัวเลข (Numeric Keypad) เอาไว้ใช้ตั้งค่าต่างๆ ที่เป็นตัวเลขได้ง่ายๆ อาทิ การตั้งรหัสผ่าน (รหัสปลดล็อค) เป็นต้น

หุ่นยนต์ตัดหญ้าในบางรุ่น เราจะสามารถควบคุมเครื่องผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS หรือ Android ได้เหมือนกับหุ่นยนต์ดูดฝุ่นทั่วๆ ไปเลย แต่ว่าเครื่องหุ่นยนต์ตัดหญ้าจะเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตผ่านซิมการ์ด (Sim Card) ของโทรศัพท์มือถือ (แทนการเชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi) เพราะเนื่องจาก มันเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานภายนอกอาคารและเป็นพื้นที่กว้าง จึงทำให้มันอาจไม่สามารถเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายไร้สาย Wi-Fi ได้ (เพราะครอบคลุมไม่ครบทั่วพื้นที่) ดังนั้นการเชื่อมต่อผ่านซิมการ์ดจะได้รับความสเถียรที่มากกว่า

โดยการใช้สั่งงานผ่านแอพพลิเคชั่น เราสามารถที่จะดูสถานะต่างๆ ของตัวเครื่อง อาทิสถานะแบตเตอรี่ สั่งให้มันเริ่มต้นตัดหญ้า หยุดการตัดหญ้าชั่วคราว รวมไปถึงการวิ่งกลับแท่นชาร์จ ได้ทันทีเช่นกัน ด้านล่างนี้เป็นความสามารถคร่าวๆ ของมัน

• แจ้งเตือนเหตุการณ์ต่างๆ ของหุ่นยนต์ตัดหญ้าในรูปแบบข้อความแจ้งเตือนแสดงขึ้นมาบนหน้าจอ (Notification)

ส่วนนี้จะพามาทำความรู้จักกับส่วนประกอบของเครื่องหุ่นยนต์ตัดหญ้ากันสักหน่อยว่ามีหน้าตาเป็นอย่างไร มาดูกันเลย

• : ไว้รับพลังงานไฟฟ้าจากแท่นชาร์จ เข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ที่อยู่ด้านในของตัวเครื่อง และด้วยความที่เครื่องนี้ใช้งานภายนอกอาคาร ถ้าจุดสัมผัสแท่นชาร์จอยู่ข้างล่างอาจมีปัญหาเรื่องของน้ำทำให้ไฟช็อต หรือเศษดินเศษหญ้าที่ทำให้การชาร์จไฟนั้นติดขัดได้

• : ฝาครอบตัวเครื่องเป็นพลาสติกเหนียวยืดหยุ่นได้ ทนแดดทนฝน เอาไว้ป้องกันความเสียหายระหว่างตัวเครื่องกับสิ่งกีดขวางต่างๆ ขณะทำงาน สามารถถอดออกมาได้ ในเวลาที่จะต้องใส่ซิมการ์ด หรือซ่อมเครื่อง อารมณ์จะเหมือนรถแข่งทามิย่า (Tamiya) ดีๆ นี่เอง นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันไม่ให้เศษหญ้าที่ถูกตัดออกมากระเด็นออกมาข้างนอกอีกด้วย

• : เราสามารถเปิดฝาครอบตัวนี้ได้จากการกดที่ “ ” ปุ่มสีส้มใหญ่ๆ ที่อยู่ด้านบนของตัวเครื่อง ฝาครอบนี้มีหน้าที่ป้องกันแดด ป้องกันฝน ไม่ให้แผงควบคุมบนตัวเครื่องเกิดการชำรุดเสียหาย หรือไฟฟ้าลัดวงจร

• : ปุ่มสีส้มหรือ “ ” เป็นปุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนตัวเครื่อง มีเอาไว้ใช้หยุดเครื่อง ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดก็ตาม และยังสามารถเอาไว้ใช้เปิดฝาครอบหน้าจอแสดงผลและแผงควบคุมบนตัวเครื่องได้อีกด้วย

• : ล้อขับเคลื่อนหลักขนาดใหญ่ 2 ล้อ พร้อมดอกยางที่อยู่ด้านหลังตัวเครื่อง ทำงานด้วยมอเตอร์ที่แยกอิสระ 2 ล้อ (ฝั่งใครฝั่งมัน) แบบนี้จะมีประโยชน์มากๆ ในกรณีที่ตัวเครื่องติดกับสิ่งกีดขวางหรืออุปสรรคต่างๆ เพราะแต่ละล้อจะสลับกันหยุดสลับกันหมุน เพื่อพาตัวเองออกมาจากอุปสรรคเหล่านั้นให้ได้

ด้านล่างของตัวเครื่องจะเป็นส่วนของระบบขับเคลื่อน และระบบตัดหญ้า ถือว่าค่อนข้างมีความสำคัญเอามากๆ สำหรับหุ่นยนต์ตัดหญ้า

• :ล้อเลื่อนรับน้ำหนักด้านหน้าจำนวน 2 ล้อ ที่สามารถหมุนได้อย่างอิสระ 360 องศา โดยมันทั้ง 2 ไม่ได้มีส่วนใดๆ ในการขับเคลื่อนให้เครื่องวิ่งได้

• : เครื่องนี้ใช้ระบบใบมีดในการตัดหญ้า (ไม่ได้ใช้ระบบเอ็นตัดหญ้า) ดังนั้นจะมีส่วนประกอบย่อย 3 ส่วนหลักๆ คือ

• : แผ่นทรงกลมด้านใน มันจะหมุนด้วยแรงพลังจากมอเตอร์ ที่อยู่ภายในตัวเครื่อง มีหน้าที่เป็นที่ยึดเกาะให้กับเดือยของแผ่นใบมีดทั้ง 3 แผ่น (แฉก) ที่อยู่ด้านล่าง

• : เดือยใบมีด ที่ลักษณะเป็นแผ่นเหล็กขนาดเล็กที่ใช้ตัดเฉือนหญ้า มันจะถูกยื่นออกมานอกแผ่นใบมีดตามแรงเหวี่ยงของแผ่นใบมีดที่หมุนด้วยความเร็วสูง และจะหุบกลับเข้าไปข้างในเอง เมื่อแผ่นใบมีดหยุดหมุน เพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

• : แผ่นโลหะเอาไว้ใช้ป้องกันการสึกหรอของส่วนประกอบที่อยู่ข้างใต้ตัวเครื่อง ในกรณีที่เครื่องวิ่งไปสัมผัสหรือกระแทกกับของแข็ง อย่างเช่นก้อนหิน ก้อนกรวด เศษอิฐ เศษปูน ต่างๆ หรือแม้แต่แผ่นกระเบื้องทางเดินในสวน ฯลฯ

• : ใช้เปิดหรือปิดเครื่องตัดไฟระหว่างแบตเตอรี่กับแผงวงจรต่างๆ ที่อยู่ภายในเครื่อง

• : ล้อขับเคลื่อนหลักขนาดใหญ่ 2 ล้อ พร้อมดอกยางที่อยู่ด้านหลังตัวเครื่อง ทำงานด้วยมอเตอร์ที่แยกอิสระ 2 ล้อ (ฝั่งใครฝั่งมัน) แบบนี้จะมีประโยชน์มากๆ ในกรณีที่ตัวเครื่องติดกับสิ่งกีดขวางหรืออุปสรรคต่างๆ เพราะแต่ละล้อจะสลับกันหยุดสลับกันหมุน เพื่อพาตัวเองออกมาจากอุปสรรคเหล่านั้นให้ได้

ขณะที่ทีมช่างกำลังติดตั้งซิมการ์ด เพื่อใช้ในการสั่งงานผ่านแอพพลิเคชั่น ก็จำเป็นที่จะต้องเปิดฝาครอบเครื่องด้านนอก และด้านในออกมาจึงมีโอกาสได้เห็นส่วนประกอบภายในตัวเครื่องอย่างชัดเจน จึงขอเก็บภาพซะหน่อยว่าภายในตัวเครื่องนั้นมีอุปกรณ์ และกลไกเป็นอย่างไรบ้าง

• : หรืออาจจะเรียกว่าเมนบอร์ด (Mainboard) ทำหน้าที่ประมวลผลจากข้อมูลที่ได้มาจากเซ็นเซอร์ต่างๆ ที่อยู่ในตัวเครื่อง แผงควบคุม หรือแม้แต่จากทางแอพพลิเคชั่นบนมือถือที่รับสัญญาณมาจากซิมการ์ด

• : มอเตอร์ที่รับผิดชอบเฉพาะระบบขับเคลื่อน ควบคุมล้อของหุ่นยนต์ตัดหญ้าให้เดินหน้า ↑ ถอยหลัง ↓ เลี้ยวซ้าย ← เลี้ยวขวา → เท่านั้น มี 2 มอเตอร์ทำงานแบบแยกอิสระ 2 ล้อ (ซ้าย-ขวา) ไม่มีเพลากลาง

• : มอเตอร์ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะการหมุนของใบมีด ที่เป็นส่วนของระบบตัดหญ้า ว่าจะให้ใบมีดหมุนหรือหยุดหมุน อย่างเช่นในกรณีที่เครื่องอาจจะไปติดหล่ม มอเตอร์ตัวนี้อาจจะหยุดทำงานชั่วคราว เพื่อให้ระบบขับเคลื่อนพาตัวเครื่องออกจากอุปสรรคต่างๆ ให้เรียบร้อยเสียก่อน จึงจะเริ่มทำงานต่อ

• : เนื่องจากเครื่องนี้มีความสามารถในการปรับระดับความสูงการตัดหญ้าได้ตั้งแต่ 2 เซนติเมตร (ต่ำสุด) ถึง 5 เซนติเมตร (สูงสุด) ดังนั้นจะต้องมีมอเตอร์ควบคุมระดับความสูงของใบมีดด้วย ว่าจะลงมาต่ำมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้ได้ความสูงตามที่ผู้ใช้งานต้องการ (เครื่องยี่ห้ออื่น หรือรุ่นอื่นอาจมีระดับความสูงการตัดหญ้าที่แตกต่างกันออกไป)

• : แผงวงจรที่ถูกติดไว้ที่ส่วนหน้าของภายในตัวเครื่องเพื่อตรวจสอบว่าเครื่องยังอยู่ภายในลูปของสายไฟกั้นขอบเขตอยู่หรือไม่ ถ้าอยู่นอกลูปหรือสายไฟฯ ขาด เครื่องก็จะไม่สามารถสั่งงานต่อได้อีกเลย

ในส่วนของการติดตั้งหุ่นยนต์ตัดหญ้าจริงๆ แล้วค่อนข้างที่จะมีขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อน (ไม่ง่ายเหมือนการติดตั้งหุ่นยนต์ดูดฝุ่น) แต่ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะว่าถ้าเราสั่งซื้อเครื่องโดยตรงกับทาง บริษัท สไปคา จำกัด เขาจะส่งทีมช่างมาติดตั้งให้ถึงหน้างานทั่วประเทศ (ย้ำว่าทั่วประเทศ)

ส่วนที่ยากคือส่วนของการติดตั้งสายไฟกั้นขอบเขตนั้น ผู้ติดตั้งจะต้องเดินสายรอบพื้นที่ของสนามหญ้าโดยจะเริ่มต้นจากแท่นชาร์จ สายไฟกั้นขอบเขตจะวนออกไปจากขั้วหนึ่ง แล้ววกกลับมาที่แท่นชาร์จในอีกขั้วหนึ่งให้เพื่อครบลูปของมัน โดยจะต้องมีการตอกหมุดปักที่พื้นสนามหญ้าเป็นระยะๆ เพื่อให้สายไฟกั้นขอบเขตอยู่ในระยะที่ตึงตลอดเวลา (สายห้ามหย่อน) และสายยังห้ามลอยสูงขึ้นมาเหนือพื้นหญ้า เพื่อป้องกันมิให้ตัวเครื่องหุ่นยนต์ตัดหญ้าวิ่งมาตัดสายขาดเสียเองขณะกำลังปฏิบัติงาน

ในส่วนที่ง่ายๆ ก็มีในเรื่องของแท่นชาร์จจะต้องหาพื้นที่โล่งแจ้ง เพื่อให้หุ่นยนต์ตัดหญ้า สามารถวิ่งเข้าออกได้ง่ายๆ และควรปักหมุด เพื่อยึดตัวเครื่องกับสนามหญ้าด้วย

• หุ่นยนต์ตัดหญ้า จะไม่มีถังเก็บหญ้า (โดยส่วนมาก) แต่เนื่องจากการลักษณะการตัดหญ้าของมัน จะเป็นการตัดแบบค่อยๆ เฉือนยอดหญ้าออกทีละนิด ดังนั้น เราจึงสามารถปล่อยให้เศษหญ้าย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยบนพื้นสนามหญ้าไปได้เลย

• การวิ่งตัดหญ้าจะไม่ได้วิ่งเป็นเส้นตรงสลับไปมา (เหมือนกับหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ที่มีระบบ Mapping) แต่จะเป็นการวิ่งแบบทแยงมุมไปมาภายในสนามหญ้า ที่มีการเดินสายไฟกั้นขอบเขตเอาไว้ โดยถ้ามันวิ่งไปเจอกับสายไฟกั้นขอบเขต ก็จะวกหันหัวกลับเข้ามาในสนามหญ้าและเปลี่ยนทิศทางไปโดยทันที

• การเอาตัวรอดจากอุปสรรคต่างๆ สามารถทำได้ดีมาก ไม่ว่าจะเป็น การวิ่งผ่านแผ่นกระเบื้องทางเดินในสวน ฝาท่อระบายน้ำ หรือแม้แต่ พื้นที่ลาดชันต่างๆ

• ถ้าอุปสรรคมีความยากซับซ้อนมากขึ้น เครื่องจะหยุดระบบตัดหญ้า โดยใบมีดจะหยุดหมุนทันที เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อระบบขับเคลื่อน

• ตัวเครื่องสามารถตัดหญ้าขณะฝนตก หรือหญ้าเปียก ได้แต่ไม่แนะนำ เพราะเศษหญ้าจะเหนียวและมาติดตามส่วนต่างๆ ของตัวเครื่อง

• ขณะที่เครื่องกำลังทำงาน ถ้ามันวิ่งผ่านหรือวิ่งไปโดนกับก้อนหิน ก้อนกรวด เศษอิฐ เศษปูน ต่างๆ อาจจะได้ยินเสียงจี๊ดๆ ชวนแสบแก้วหู จนต้องอุดหูพร้อมกับหลับตาได้

• การทำงานในแต่ละครั้งจะใช้เวลาค่อนข้างนานพอสมควร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ระยะเวลาการตัดหญ้าขึ้นอยู่กับขนาดของสนามหญ้า และสิ่งกีดขวางต่างๆ ภายในสนามหญ้าเช่นกัน

• ต้องมีความระมัดระวังในเรื่องของการติดตั้งสายไฟกั้นขอบเขต เพื่อไม่ให้ตัวเครื่องหุ่นยนต์ตัดหญ้ามาตัดขาดเสียเอง หรือแม้แต่สัตว์ต่างๆ มากัดขาด ช่างผู้ติดตั้งต้องมีความชำนาญสูง

• การติดตั้งเครื่องเพื่อทดสอบช่างวางสายอยู่ด้านบน โดนเครื่องตัดสายไป 2-3 รอบ แต่ก็สามารถต่อสายใหม่ได้เองง่ายๆ เพียงใช้คีมปอกสายไฟและเทปพันสายไฟเท่านั้น

บทสรุปการใช้งานของเครื่องหุ่นยนต์ตัดหญ้าในบทความฉบับนี้ เป็นการสรุปจากการใช้งานหุ่นยนต์ตัดหญ้าเพียงยี่ห้อและรุ่นเดียวเท่านั้น นั่นคือ Husqvarna Automower 430x ดังนั้นอาจจะมีผลิตภัณฑ์จากยี่ห้ออื่น หรือรุ่นอื่น ที่มีความสามารถที่มากกว่า หรือน้อยกว่านี้

• ไม่ต้องกังวลกับการเก็บเศษหญ้าไปทิ้ง เพราะหญ้าที่ถูกตัดออกมาจะเป็นเศษเล็กๆ บางๆ สามารถปล่อยให้อยู่บนพื้นสนามหญ้า เพื่อให้ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยไปได้เลย

• หายห่วงเรื่องแดดเรื่องฝน ไม่ว่าจะฝนตกหรือแดดจะออก ก็ไม่ต้องกังวลว่าหุ่นยนต์ตัดหญ้าของเราจะเป็นอะไร มันถูกออกแบบมาให้ทนเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว

• สามารถวิ่งกลับแท่นชาร์จได้อย่างแม่นยำ (แต่มีข้อแม้ว่า มันต้องไม่ไปอะไรในสวนเสียก่อน)

• มีความสามารถในการเอาตัวรอดจากอุปสรรคต่างๆ ได้ดีมากๆ อาทิ การวิ่งผ่านกระเบื้องทางเดินในสวน ฝาท่อระบายน้ำ หรือแม้แต่ พื้นที่ลาดชันต่างๆ สามารถทำได้ดีมาก

• มีระบบรักษาความปลอดภัยด้วยรหัสผ่าน ถ้าใครมายกขึ้นโดยไม่ได้ใส่รหัสผ่านที่ถูกต้องจะส่งเสียงร้องขึ้นมาทันที

ส่วนตัวมองว่าเทคโนโลยีของหุ่นยนต์ตัดหญ้านั้น ผู้ผลิตยังสามารถมีลูกเล่นหรือความสามารถเข้ามาเสริมเติมได้อีกพอสมควร ยกตัวอย่างเช่น การทำงานแบบไม่ต้องใช้สายไฟกั้นขอบเขตการวิ่ง อาจจะมีแบบที่สามารถกำหนดขอบเขตการตัดหญ้าผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือได้เลย เพื่อลดปัญหาความวุ่นวายในการติดตั้ง และลดโอกาสที่สัตว์เลี้ยงจะไปกัดสายไฟฯ ขาด หรือแม้แต่ตัวหุ่นยนต์ตัดหญ้าไปตัดเอาสายไฟฯ ขาดเสียเอง

นอกจากนี้ ในอนาคต (อันไกล – อีกกี่ปีไม่ทราบ) อาจจะมีความสามารถ ที่เลือกลายของสนามหญ้าได้ตามต้องการ (แต่ราคาคงน่าจะแพงน่าดู) มีกล้องติดที่หน้าเครื่อง (เหมือนกล้องติดรถยนต์) เพื่อดูความเคลื่อนไหวต่างๆ แล้วส่งข้อมูลกลับมายังแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้งาน …

หุ่นยนต์ดูดฝุ่น กับ 5 ข้อควรพิจารณาก่อนซื้อ

ก่อนที่จะไปปวดหัวกับการเลือกสเปคหุ่นยนต์ดูดฝุ่นในท้องตลาด ผมอยากให้เราพิจารณาจากสิ่งที่อยู่ใกล้ๆตัวก่อนครับ ว่าลักษณะพื้นที่ห้องและเฟอร์นิเจอร์ที่เราใช้อยู่เป็นแบบไหน? ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากๆ เพราะถ้าเราเลือกซื้อหุ่นยนต์ที่มีขนาดไม่เหมาะกับการทำงานในห้องของเรา ก็จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหุ่นนั้นๆลดลงได้ เกิดการติดขัดระหว่างทาง และทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง เป็นต้น โดยสิ่งที่เราต้องคำนึงถึงก็คือ

พื้นห้องอาจไม่ได้เป็นวัสดุเดียวกันที่ราบเรียบเสมอไป บางคนก็อาจมีการปูพื้นด้วยพรม หรือบางห้องก็มีขอบพื้น/ประตู ที่ยกสูงต่างระดับจากพื้นปกติอยู่ด้วยครับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจเป็นอุปสรรคในการทำงานของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นได้ เพราะถ้ามีความสูงของใต้ตัวเครื่องไม่มากพอ ก็อาจทำให้หุ่นยนต์ไปเกยตื้น หรือติดอยู่บนพรมบ้าง ธรณีประตูบ้าง จนไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนต่อได้ สุดท้ายก็จะแบตหมดตายคาที่อยู่ตรงนั้น

นอกจากนี้บางคนก็อาจมีพฤติกรรมในการใช้หุ่นยนต์ดูดฝุ่นเครื่องเดียว แต่ชอบที่จะย้ายไปหลายๆห้อง ซึ่งก็ต้องมีการยกหรือเคลื่อนย้ายอยู่บ่อยๆ จึงอาจเหมาะกับหุ่นยนต์ที่น้ำหนักเบา ขนาดกระทัดรัด และพกพาได้สะดวกก็ได้ครับ แต่ด้วยขนาดของตัวเครื่องที่เล็กลง ก็อาจมีผลต่อประสิทธิภาพความแรงในการดูดฝุ่น ความจุของแบตเตอรี่ และขนาดของกล่องเก็บฝุ่น ที่เราจะต้องพิจารณาประกอบกันหลายๆอย่างอีกทีด้วยนะ

Leave a Comment