ทักษะ “รับมือ” อนาคต
• การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ แต่โลกในยุคเทคโนโลยี Scale ของการเปลี่ยนแปลงมีมากกว่าในอดีตมาก จนทำให้คนรู้สึกกลัว เพราะรับมือไม่ถูก ไม่รู้ว่าต้องรับมืออย่างไร มารู้จัก 3 ทักษะหลัก ที่ผู้ประกอบการ หรือแม้กระทั่งคนทั่วๆ ไป ก็ต้องฝึกและเพิ่มพูนทักษะเหล่านี้ เพื่อการทำธุรกิจและใช้ชีวิตให้ทันกับโลกในยุคนี้
เชื่อแน่ว่าหลายคนมองอนาคตด้วยความกังวลว่าจะปรับตัวไม่ได้ หรือปรับได้แต่ไม่ทัน และจะมีคำถามต่อไปว่า ทักษะอะไรที่จำเป็นสำหรับวันข้างหน้า จริงๆแล้วสิ่งที่น่ากลัวอาจไม่ใช่เทคโนโลยี แต่เป็นความเร็ว การจะปรับตัวอย่างไรนั้น สิ่งที่ต้องมีก่อนคือความเข้าใจ เพื่อให้การรับมือไม่หลงทิศหลงทาง จนไม่อาจพ้นจากวังวนของความกลัว
เราควรเข้าใจว่า ความรู้ที่เรามีนั้น อายุมันสั้นลง สิ่งที่เคยรู้มา มีประสบการณ์มาและเคยทำสำเร็จ มันอาจไม่สามารถใช้ได้ไปตลอดเหมือนในอดีต ที่พอเราเรียนจบออกมาทำงานแล้วก็ใช้ความรู้นั้นไปได้นานๆ เราต้องพร้อมสร้าง “ความรู้และทักษะใหม่” ตลอดชีวิต เราอาจต้องกลับไปเป็นนักเรียนใหม่กันอยู่เรื่อยๆ
ทักษะที่ต้องมีหรือเพิ่มพูนให้มีมากขึ้น เพื่อรับมือสำหรับอนาคต ที่เราอาจต้องทำงานกับ AI ซึ่งมีบทบาทเข้ามาแทนที่มนุษย์ในหลายๆ เรื่อง แต่มีทักษะที่ AI อาจทำเทียบเท่ามนุษย์ได้ยาก หรือทำไม่ได้ พอจะแบ่งได้ 3 เรื่องคือ
AI สามารถเรียนรู้จากข้อมูลที่รวบรวมสะสมไว้ และประมวลผลเป็นคำตอบและทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาหรือคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ แต่ทักษะการคิดวิเคราะห์ที่ใช้ทั้งข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ในสถานการณ์หรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งมีความซับซ้อน ต้องคิดหลายชั้น มนุษย์จะสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ถูกต้องและครบถ้วนดีกว่า AI โดยมีแนวทางที่เราสามารถใช้ในการแก้ปัญหา เช่น ลองแก้ปัญหาที่ไม่คุ้นเคยด้วยวิธีการที่หลากหลาย ถามคำถามที่มีความสำคัญเพื่อสร้างความกระจ่าง และนำไปสู่คำตอบที่ดีกว่าเดิม ใช้กระบวนการแก้ปัญหา โดยการกำหนดปัญหา ตั้งสมมติฐานหรือหาแนวทางการแก้ปัญหา ทดสอบ สมมติฐานหรือเลือกวิธีการแก้ปัญหา ลงมือปฏิบัติ และประเมินผลเพื่อหาข้อสรุป
ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถของมนุษย์ที่คิดได้กว้างไกล คิดได้หลายมิติ หลายทิศทาง ทำให้เกิดการผลิตสินค้า บริการใหม่ๆ ที่สร้างคุณค่าได้มากกว่าเดิม ความคิดสร้างสรรค์เป็นข้อมูลที่ได้มาจากจินตนาการ ประสบการณ์และการใช้ชีวิต ที่ AI มีไม่เท่ามนุษย์ วิธีฝึกให้เกิดทักษะด้านนี้ เช่น ฝึกนิสัยตั้งคำถาม ช่างสงสัย หรือตั้งคำถามแบบสมมติ เพื่อให้เกิดจินตนาการ ตั้งคำถามแบบเปิดเพื่อให้คิดได้อย่างหลากหลายและแตกต่าง รวมถึงต้องหัดทำตัวเป็นคนไม่ยึดติด สามารถปรับตัวได้ตลอดเวลา คำถามที่ควรถามตัวเองเสมอคือ “ที่เป็นอยู่ตอนนี้ดีแล้วหรอ จะสามารถทำอะไรให้ดีขึ้นได้อีกไหม”
ทักษะการสื่อสาร การประสานงาน ทักษะด้านการให้บริการ รวมทั้งการรับมือกับสถานการณ์ที่มีปัจจัยด้านวัฒนธรรม ความเชื่อ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างมาก โดยทักษะด้านการสื่อสารถือว่าสำคัญระดับต้นๆ ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม โดยเฉพาะการสื่อสารกับลูกค้า และคนที่ทำงานด้วยกัน ซึ่งการสื่อสารไม่ใช่แค่การพูดอย่างเดียว ทักษะการรับฟัง การสังเกตและการตีความภาษาท่าทาง ก็เป็นหนึ่งในทักษะด้านการสื่อสารที่เราต้องฝึกกันให้มากขึ้น
ในขณะที่ธุรกิจขนาดกลางและเล็กจะต้องเพิ่มการเข้าถึงการทำธุรกิจที่ใช้ Digital ให้มากขึ้น เพราะมันช่วยเพิ่มช่องทางเพิ่มความสามารถในการทำธุรกิจได้ เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาต้องเรียนรู้ในโลกยุคนี้ อีกเรื่องคือ ข้อมูล (Data) หลายๆ คนพูดถึงความสำคัญของข้อมูล ชนะกันด้วยข้อมูล แต่รู้หรือไม่ว่า หัวใจสำคัญของการทำธุรกิจคือ การเข้าใจลูกค้า เมื่อเข้าใจลูกค้า การจะทำ Online Offline หรือด้วยวิธีการใด มันจะตามมา พฤติกรรมของลูกค้าในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ก็ต้องตามลูกค้าให้ทัน คนที่ทำธุรกิจอย่างเดียวกัน มี Platform เหมือนกัน แต่บริษัทที่ประสบความสำเร็จนั้นเป็นเพราะเปลี่ยนได้เร็ว ตามลูกค้าได้ทัน
ความกังวล ความกลัว เป็นเรื่องที่ต้องมีอยู่แล้วเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง มันอาจทำให้หยุดชะงักไปบ้าง แต่ไม่ใช่การไปต่อไม่ได้ อาจต้องใช้เวลาบ้างในการเรียนรู้ ฝึกฝน เปลี่ยนแปลงตัวเอง ติดอาวุธให้ตนเอง เพื่อให้ชีวิตได้ดำเนินต่อไป
The Lost Skill ทักษะที่หายไปในศตวรรษที่ 21
The Lost Skill ทักษะที่หายไปในศตวรรษที่ 21
โลกทั้งใบจะอยู่ในมือคนที่หาเจอก่อน
ศัตรูที่น่ากลัวที่สุดในศตวรรษนี้คือ "การเปลี่ยนแปลง" เราจึงพยายามฝึกฝนและเพิ่มพูนทักษะใหม่ ๆ มากมาย โดยหวังจะใช้เป็นอาวุธเพื่อต่อสู้กับทุกความเปลี่ยนแปลง แต่นั่นก็ทำให้เรามองข้าม หรือกระทั่งหลงลืมทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษนี้ไปเช่นกัน ทั้งที่มันเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะพาเราไปได้ไกลที่สุด นี่เป็นหน้าที่ของคุณ ที่ต้องหามันให้เจอ... มาอ่านหนังสือ "The Lost Skill ทักษะที่หายไปในศตวรรษที่ 21" เล่มนี้ เพื่อค้นหาและทำให้มันกลับมาอยู่ในตัวเรากันดีกว่า!
01. ค้นหาทักษะที่หายไป
02. 6 นิสัยที่ขโมยเวลาของเราไป
03. กฎเลข 3 แห่งการตั้งเป้าหมาย
04. อย่าฝืนกฎ 3 นาที
05. จงแบ่งปันความล้มเหลว
06. สิ่งที่ต้องทำ VS สิ่งที่อยากทำ
07. เทคนิคอ่านหนังสือสำหรับคนที่ไม่มีเวลา
08. วิธีเลือกซื้อหนังสือที่แก้อาการอ่านไม่จบ
09. 4 เทคนิคสร้างนิสัยให้ลูกรักการอ่าน
10. เทคนิคอ่านให้ไม่ลืม
ฯลฯ
ฝึก Skill ให้หลากหลายแบบ da Vinci ด้วยกฎ 20 ชั่วโมง
Renaissance ตามรูปศัพท์แปลว่า ‘เกิดใหม่’ แต่ถ้าเติม man เข้าไปด้วยจะแปลว่าคนที่มีความเก่งกาจหลายอย่าง
แล้วความเก่งกาจที่ว่านี้เป็นแบบไหนกันล่ะ ก็แบบ Leonardo da Vinci เลย เขาเป็นทั้งสุดยอดศิลปิน รอบรู้ในศาสตร์ต่างๆ อย่างเช่นวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ และยังมีความเป็นนักประดิษฐ์อีก บางทีต้นตอของคำว่า Renaissance man ก็อาจจะมาจากตัว da Vinci เองก็ได้
Renaissance man ก็คือคนแบบ da Vinci ที่มีทักษะในระดับยอดเยี่ยมหลายด้าน ฟังดูแล้วคงจะมีแต่คนที่เกิดมาพร้อมพรสวรรค์เท่านั้นถึงจะไประดับนี้ได้ แต่ความจริงแล้วอาจจะไม่ใช่เช่นนั้น
เพราะถ้ามันเป็นเรื่องของทักษะแล้วล่ะก็ แสดงว่าเราก็สามารถฝึกกันได้
Josh Kaufman อาจจะไม่ใช่ Renaissance man แต่เขาก็มีทักษะที่หลากหลายเพราะเขามีวิธีเพิ่มทักษะใหม่ๆได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 12 เดือนเขาเรียนรู้ทักษะใหม่ๆถึง 7 อย่าง ไม่ว่าจะเป็น การเขียนโค้ด เล่นโยคะ เล่นวินด์เซิร์ฟ เล่นอูคูเลเล่ เล่นโกะ ฝึกเทคนิคการพิมพ์แบบ Colemak (ว่ากันว่าเร็วกว่าการพิมพ์แบบ QWERTY หรือ ฟหกด ที่เราพิมพ์มาตั้งแต่เด็ก) และถ่ายและตัดต่อหนัง
เขาฝึกทักษะข้างต้นตั้งแต่ความรู้เป็นศูนย์จนตอนนี้อยู่ในระดับคล่องแคล่วชำนาญ อาจจะไม่ถึงขั้นเป็นเซียนอย่าง Renaissance man แต่นั่นก็ไม่สำคัญ เพราะสิ่งที่เขาต้องการคือความหลากหลาย
“ถ้าคุณฝึกฝนอย่างชาญฉลาด มีกลยุทธ์ มันก็ไม่มีข้อจำกัดในสิ่งที่คุณเรียนรู้ แม้แต่เรื่องการสร้างจรวดก็ด้วย” Kaufman กล่าว
ฝึกเพื่อให้โปรไฟล์เราดูดีกว่าเดิมเพื่อที่คนอื่นจะให้ความเคารพต่อคุณค่าของตัวเราและสร้างโอกาสใหม่ให้ตนเอง
ฝึกฝนเพื่อให้ชีวิตของเราดีขึ้น เพื่อให้เห็นโลกในมุมใหม่ๆและสนุกไปกับการเติบโตของตนเอง
ไม่ว่าเหตุผลจะเป็นอะไรก็ตาม มันก็เป็นเรื่องดีทั้งนั้นที่เราจะฝึกฝนทักษะเพิ่ม แต่น้อยคนที่จะลงมือทำจริงๆนั่นก็เพราะมันมีอุปสรรคมาขัดขวางและบ่อยครั้งมันก็เกิดขึ้นจากตัวเรานี่แหละ
พวกเขามักจะพูดว่า “ฉันคิดว่าจะฝึกพูดภาษาญี่ปุ่นซักวันนึง” แต่ก็ไม่ได้วางแผนการฝึกอะไรเลย ที่แย่กว่านั้นคือพวกเขาไม่ได้คิดเลยว่าทำไมเขาถึงสนใจทักษะนี้ พอเป็นแบบนี้การฝึกฝนก็ไม่ได้กลายเป็นเรื่องสำคัญกว่าเรื่องอื่นๆ
เมื่อเราเรียนรู้อะไรใหม่ๆ มันจะมีช่องว่างขนาดใหญ่ของสิ่งที่เราจะต้องทำความเข้าใจ เราระแวงถึงสิ่งที่เราไม่รู้ เราไม่รู้ว่าต้องเริ่มตรงไหน เรารู้สึกถึงความไม่แน่นอนที่กำลังเผชิญ จากนั้นเราจะตัดสินใจโดยใช้สัญชาตญาณดิบยุคดึกดำบรรพ์เพื่อหยุดความกลัว นั่นคือ “ยอมแพ้”
สมมติว่าคุณฝืนความกลัวแล้วลองนั่งลงฝึกฝน สิ่งปกติที่คุณต้องเจอเมื่อเริ่มฝึกคือ คุณทำผลงานได้ห่วย คุณทนเห็นความห่วยของคุณไม่ได้ คุณผิดหวังในตัวเอง เพื่อที่จะหนีสถานการณ์แบบนี้คุณจึงหยุดการฝึกฝน และอาจจะบอกกับตัวเองว่า “ทักษะแบบนี้ไม่เห็นจะน่าสนใจตรงไหน”
อีกสิ่งหนึ่งที่ขัดขวางการฝึกคือ “กฎ 10,000 ชั่วโมง” ที่ Malcolm Gladwell ทำให้โด่งดัง กฎนี้แพร่หลายและทำให้บางคนเข้าใจผิดคิดว่า ‘ถ้าเราคิดจะฝึกทักษะอะไร เราต้องฝึกจนเป็นผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นเราต้องฝึกให้ถึง 10,000 ชั่วโมง’
การทำตามกฎ 10,000 ชั่วโมงคือการฝึกทุกวัน วันละ 4 ชั่วโมง เป็นเวลาประมาณ 7 ปี ซึ่งมันไม่ใช่สิ่งที่คนส่วนใหญ่ทำได้ การฝึกแบบนี้เหมาะสำหรับคนที่คิดจะพัฒนาฝีมือตนเองไปถึงระดับโลก แต่ถ้าคุณแค่อยากจะฝึกฝนเพื่อให้ได้ทักษะที่มีคุณค่าต่อตัวเองหรือฝึกเพื่อความสนุกล่ะก็
1) เลือกฝึกทีละอย่างและตั้งเป้าระดับที่ต้องการจะไปให้ถึง
คุณอาจจะอยากฝึกฝนทักษะหลายด้าน แต่เมื่อถึงเวลาต้องเลือก คุณต้องเลือกฝึกทีละอย่าง
เลือกหนึ่งทักษะที่สำคัญต่อคุณอย่างมากในเวลานั้นและทุ่มเทความพยายามลงไป จำไว้ว่าถ้าคุณกระจายความพยายามของคุณโดยการฝึกทีละหลายทักษะ คุณจะไม่มีพัฒนาการซักอย่างเดียว
แต่คนเรามักจะมีปัญหาในการเลือกเมื่อเจอตัวเลือกมากมาย Kaufman จึงแนะนำว่าให้เขียนรายการทักษะที่อยากฝึกออกมา จากนั้นถามตัวเองว่า
จากนั้นคุณก็ตัดรายการทิ้งไปครึ่งหนึ่ง แล้วคุณก็ถามคำถามนี้ซ้ำ แล้วก็ตัดออกครึ่งหนึ่งอีก ทำแบบนี้เรื่อยๆจนกว่าคุณจะเหลือสิ่งที่ต้องฝึกเพียงสิ่งเดียว
การบอกแค่ว่า ‘จะฝึกภาษาอิตาเลียน’ นั้นกว้างไป การตั้งเป้าแบบ Target Performance Level คือการบอกว่า ‘เรียนภาษาอิตาเลียนเพื่อไว้ใช้ตอนไปเที่ยวอิตาลีและคุยโต้ตอบกับพนักงานเสิร์ฟ’ เขียนแบบหลังจะทำให้ฝึกง่ายกว่า
ทักษะแต่ละอย่างคือการผสมผสานทักษะย่อยเข้าด้วยกัน เราต้องแบ่งทักษะออกเป็นส่วนย่อยๆเพื่อที่เราจะสามารถฝึกได้ง่ายขึ้นและไม่เป็นเรื่องยากเกินไป
สมมติว่าเป็นเรื่องกอล์ฟ เมื่อคุณ ‘เล่นกอล์ฟ’ คุณไม่ได้ทำแค่สิ่งๆเดียว แต่มันประกอบไปด้วยการตี Tee-off การตีเหล็กแบบต่างๆ ตีลูกชิปข้ามบ่อทราย และตีเข้ากรีน ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ใช้ทักษะคนละแบบ วิธีฝึกที่ดีที่สุดคือฝึกมันทีละอย่าง
ทักษะส่วนมากจะมีรูปแบบคล้ายๆกันคือ มีทักษะย่อย 2-3 อย่างที่สำคัญจริงๆ ส่วนที่เหลือแทบไม่สำคัญหรือส่งผลต่อผลลัพธ์น้อยมาก ดังนั้นเพื่อให้เรียนรู้ได้เร็ว เราจึงต้องฝึกสิ่งสำคัญเป็นอย่างแรก
หาหนังสือ 2-3 เล่ม คอร์สเรียน วิดีโอหรือสื่ออย่างอื่นที่เกี่ยวข้องกับทักษะที่คุณฝึก แต่อย่าพึ่งศึกษามันทั้งหมด ให้ไล่ดูคร่าวๆ เรื่องไหนที่คุณเจอบ่อย เรื่องนั้นล่ะสำคัญที่สุด
เวลา 1-2 ชั่วโมงนั้นเพียงพอแล้วสำหรับการหาข้อมูล การค้นข้อมูลมากเกินไปจะกลายเป็นการผัดวันประกันพรุ่งแทน สิ่งที่ต้องการคือการค้นข้อมูลเพื่อหาทักษะย่อยที่สำคัญที่สุดและหลีกเลี่ยงการฝึกที่ไม่มีการวางแผน
ตอนที่ Kaufman ฝึกเขียนโค้ด เขาซื้อหนังสือมา 20 เล่มและคิดว่าวิธีที่ดีที่สุดคืออ่านหนังสือพวกนี้และเริ่มเขียนโปรแกรม แต่ความจริงมันตรงกันข้าม ทักษะของเขาพัฒนาขึ้นเมื่อเขาเลือกอ่านหนังสือขั้นพื้นฐาน 2-3 เล่มเพื่อให้ได้ไอเดียหลักของทักษะการเขียนโค้ดและใช้เวลาที่เหลือไปกับการเขียนโปรแกรม
สมมติถ้าคุณจะฝึกเล่นกีต้าร์ แต่คุณเอากีต้าร์ใส่กล่องแล้ว เก็บไว้ในตู้เสิ้อผ้า หรือวางไว้ในส่วนอื่นของบ้านที่ไกลมือ ก็แน่ใจได้เลยว่าคุณแทบไม่ได้ฝึก
วิธีที่ Kaufman ใช้ในการฝึกอูคูเลเล่คือ เก็บมันไว้ใกล้มือทุกๆวัน เมื่อถึงเวลาก็แค่หยิบและฝึกฝน
"ฉันเดาว่าไอ้เจ้า Tim ในอนาคต มันต้องโง่เง่า ขี้เกียจ และตัดสินใจอะไรได้ห่วยแน่ๆ ดังนั้นฉันก็เลยจัดสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้น"
ดังนั้นแทนที่จะรอปาฏิหารย์ทำให้คุณเริ่มฝึก คุณควรจัดสภาพแวดล้อมให้ง่ายต่อการฝึกของคุณดีกว่า การเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยอย่างเช่นเอากีต้าร์ไว้ตรงที่หยิบง่ายๆจะสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่
และอย่าลืมที่จะกำจัดสิ่งรบกวนการฝึก เมื่อถึงเวลาฝึก คุณควรปิดประตู ปิดทีวี ปิดอินเตอร์เน็ต ปิดเสียงโทรศัพท์ ทำสิ่งที่จะทำให้คุณมุ่งสมาธิไปที่การฝึก
นั่งลง หยิบปฏิทิน และคิดคำนวณว่าคุณจะฝึกฝนช่วงเวลาไหน สิ่งที่ต้องการสำหรับการฝึกคือเวลาเพียง 45 นาทีเท่านั้น
ถ้าคุณบอกว่าไม่มีเวลา แสดงว่าทักษะนั้นคงไม่ใช่สิ่งสำคัญกับคุณจริงๆ ถ้าคุณไม่เต็มใจที่จะใช้เวลา 20 ชั่วโมงไปกับการฝีกทักษะที่คุณเลือก ก็เลิกซะ แล้วไปทำอย่างอื่น มันดีกว่าการที่คุณฝึกเล่นๆแล้วมายอมแพ้และรู้สึกผิดทีหลัง
ตามประสบการณ์ของ Kaufman การตกลงล่วงหน้ามีผลต่อการกระทำของเราอย่างมาก เพราะสิ่งที่คุณต้องทำคือการฝึกอย่างจดจ่อซึ่งมันต่างจากการฝีกแบบเรื่อยเปื่อย ถ้าคุณแค่ฝึกเล่นๆ คุณจะยอมแพ้เร็วมากถ้าคุณเจอสิ่งที่เริ่มยากขึ้นมา จำไว้ว่าช่วงแรกของการฝึกเราจะทำอะไรได้ห่วยไปหมด ซึ่งมันง่ายมากที่คุณจะยอมแพ้
แต่ถ้าคุณ ‘ตกลงล่วงหน้า’ ความคิดของคุณจะเปลี่ยนไป คุณจะเดินหน้าจนกระทั่ง
2) ฝึกฝนจนครบ 20 ชั่วโมง แม้ระหว่างนั้นคุณจะผิดหวังกับความห่วย คุณก็จะคิดว่า “ถ้ามันจะห่วยก็ให้มันห่วยแค่ 20 ชั่วโมงนี่แหละ อย่างน้อยถ้าทำได้ตามเป้า มันก็น่าจะมีอะไรดีขึ้น”
เมื่อคุณจัดเวลาของคุณได้แล้ว เวลาที่คุณฝึก คุณจะต้อง ‘ฝึกอย่างจดจ่อ’ นั่นคือขณะที่ฝึกเราต้องเจาะจงให้ได้ว่าองค์ประกอบใดของทักษะที่ต้องปรับปรุง แล้วค่อยบรรจงขัดเกลาสิ่งนั้น ดังนั้นมันจึงต้องมีข้อมูลป้อนกลับ (feedback) อย่างต่อเนื่อง
การฝึกจดจ่อเป็นสิ่งที่ยากกว่าการฝึกแบบเรื่อยเปื่อยเพราะมันต้องอาศัยการจดจ่อและสมาธิ มันเป็นงานหนักที่ไม่สามารถทำได้นานๆ คนเราฝึกอย่างจดจ่อได้อย่างมากที่สุดแค่วันละ 4-5 ชั่วโมงเท่านั้นและมักจะต้องแบ่งเป็นช่วงๆโดยแต่ละช่วงไม่เกิน 60-90 นาที
แต่วิธีของ Kaufman เราจะใช้เพียง 45 นาทีในแต่ละวันเท่านั้น ดังนั้นเส้นทางนี้ไม่ยากจนเกินไป
Kaufman เลือก 20 ชั่วโมงเพราะเขาพบว่ามันเป็นเหตุผลทางจิตวิทยา เวลา 20 ชั่วโมงไม่นานเกินไปที่จะทำให้เกิดความกลัว ดังนั้นมันจึงง่ายที่จะทำการตกลงล่วงหน้า แต่มันก็ไม่ได้นานพอที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าทึ่ง
จากประสบการณ์ของ Kaufman พบว่าในการเรียนรู้นั้น
หลังจาก 20 ชั่วโมง คุณจะอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าเดิมในการตัดสินทักษะนั้น คุณอาจจะพัฒนาทักษะนั้นต่อไปให้ดียิ่งขึ้นหรือไม่ก็พัฒนาแค่นั้นและหันไปทำสิ่งอื่นที่สำคัญกว่า
Kaufman เองก็เรียนการทำอาหารภายในไม่กี่ชั่วโมง เขาต้องการแค่ทักษะทำอาหารอร่อยๆให้กับครอบครัว ไม่ได้ต้องการที่จะเป็นเชฟระดับโลก ดังนั้นเขาจึงไม่ได้พัฒนาการทำอาหารมากมายนัก
แต่ทักษะอื่นอย่างเช่นการเขียนโปรแกรม มันมีค่ามากขึ้นที่จะพัฒนาต่อ เขาใช้เวลา 150 ชั่วโมงไปกับทักษะนี้และยังคงเรียนรู้ต่อไป
Kaufman บอกว่า คุณสามารถฝึกอะไรก็ได้ทั้งนั้น ในช่วง 20 ชั่วโมงมันคือช่วงเวลาในการค้นหา คุณกำลังหาคำตอบว่ามันคืออะไร มันทำงานยังไง เมื่อคุณได้รับผลลัพธ์จากการฝึก คุณก็ไม่จำเป็นต้องฝึกต่อถ้าคุณไม่ต้องการ คุณไม่จำเป็นต้องฝึกจนเป็นผู้เชี่ยวชาญทุกเรื่องเมื่อคุณคิดจะเรียนรู้
แต่ถ้าคุณอยากจะฝึกฝนให้มากขึ้น คุณสามารถใช้วิธีการนี้และทุ่มเททั้งพลังและเวลาลงไปจนกว่าคุณจะไปถึงระดับยอดฝีมือ