หยิบมาให้อ่านกันอีกครั้งสำหรับเรื่องราวพระอัจฉริยภาพในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้านไอที-สื่อสาร ทุกเรื่องสะท้อนว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงศึกษามุ่งมั่นจริงจังจนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้จากฝีพระหัตถ์ล้วน ไม่เน้นพึ่งพาโปรแกรมสำเร็จรูปใดๆ
-
ในหลวงกับพระอัจฉริยภาพด้านการสื่อสาร (Cyber Weekend)
พระราชอัจฉริยภาพด้านการสื่อสารปรากฏชัดตั้งแต่สมัยยังทรงพระเยาว์ขณะที่ประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ด้วยทรงสนพระราชหฤทัยศึกษาวิชาไฟฟ้าและวิทยุสื่อสาร สิ่งที่พระองค์ทรงประดิษฐ์และทดลองใช้คือเครื่องรับวิทยุกระจายเสียง ซึ่งในสมัยนั้นเครื่องรับวิทยุยังใช้แร่อยู่ ดังความตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์เรื่อง เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์ ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เล่าให้ฟังว่า
'เครื่องวิทยุที่บ้านไม่ทรงมีสิทธิที่จะแตะต้อง มีไว้ฟังข่าวเท่านั้น แต่เมื่ออายุสัก 10 ปี ก็มีโอกาสสร้างของตนเองขึ้นมาได้ ที่โรงเรียนมีการขายสลากในงานของโรงเรียนงานหนึ่ง ท่านก็ได้สลากเป็นคอยล์ (Coil) ท่านก็ศึกษาถามผู้รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะเป็นวิทยุออกมาได้ เขาก็บอกให้ท่านซื้อแร่ดำ (Galena หรือ galenite หรือ Pbs) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเครื่อง คือที่รับฟังไฟฟ้าในอากาศที่เป็นคลื่นวิทยุ และหูฟังอีกคู่หนึ่ง ทั้งหมดราคาประมาณ 10 แฟรงค์ มาต่อกันอย่างไรไม่ทราบ ทรงสามารถฟังวิทยุที่เขาส่งมาได้ ยังแบ่งกันฟังคนละหูกับพระเชษฐา ต่อไปพระเชษฐาก็ซื้อของพระองค์เอง'
สามารถอ่านต่อบทความฉบับเต็มได้
ที่นี่
-
“Infographic พระราชทาน” ยากเป็นง่ายด้วยพระราชาไอที
เรื่องราวของ Infographic ฝนหลวง ที่ถูกเรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า “แผนภาพ (การ์ตูน) ตำราฝนหลวงพระราชทาน” แผนภาพนี้มีเอกลักษณ์เดียวกับ ส.ค.ส.ฝีพระหัตถ์ โดยเฉพาะความเป็นสีขาว-ดำ ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงต้องการสะท้อนให้ลูกหลานไทยได้เห็นถึงตัวอย่างของความประหยัด มัธยัสถ์
หากมองย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ต้องถือว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงริเริ่มนำภาพกราฟิกมาอธิบายเรื่องยาก และเต็มไปด้วยซับซ้อนทางเคมีได้ก่อนเทรนด์โลก จะเห็นว่าภาพการ์ตูนที่ทรงบันทึกด้วยคอมพิวเตอร์นี้ถูกสร้างในยุคที่เทคโนโลยีมีข้อจำกัดสูงมาก การใช้คอมพิวเตอร์ทรงงานของพระราชาไอทีองค์นี้ จึงสะท้อนให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างเต็มที่
สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้
ที่นี่
-
ตามรอย “คอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์” เครื่องแรก
มีหลักฐานชัดเจนว่า พระองค์ทรงสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลด้วยพระองค์เอง ทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทย (Font) ที่มีลักษณะงดงามอ่อนช้อยเพื่อแสดงผลบนจอภาพคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกพระราชกรณียกิจต่างๆ ทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนพระราชภารกิจต่างๆ และยังทรงประดิษฐ์ ส.ค.ส.ด้วยคอมพิวเตอร์แก่ปวงชนชาวไทยหลายปีติดต่อกัน พระราชกรณียกิจมากมายเหล่านี้เริ่มต้นมาจาก “Macintosh Plus” คอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์เครื่องแรกที่ทรงใช้งาน
ตามข้อมูลที่ปรากฏ ม.ล.อัศนี ปราโมช คือผู้ซื้อคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งหากนับอายุโดยคร่าวๆ ของ Macintosh Plus ก็จะพบว่าคอมพ์ทรงเกียรตินี้มีอายุนับจากการเปิดตัวครั้งแรกในปี 1986 เกินกว่า 30 ปี
สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้
ที่นี่
-
4 เรื่องเด่นบอกเล่าพระอัจฉริยภาพด้านไอที-สื่อสาร ในยุคไร้ดิจิทัล
ในยุคที่อินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลาย กูเกิล (Google) ยังไม่เกิด เครือข่ายสังคมอย่างเฟซบุ๊ก (Facebook) ยังไม่ตั้งไข่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระอัจฉริยภาพในด้านดิจิทัลและการสื่อสารเพราะทรงศึกษามุ่งมั่นจริงจัง และทรงนำเทคโนโลยีสาขาวิชาเหล่านั้นมาทรงประยุกต์ใช้เพื่อความร่มเย็นผาสุกของพสกนิกร
เรื่องแรกเริ่มที่สมัยที่เครื่องรับวิทยุยังใช้แร่ เรื่องที่ 2 คือระบบฐานข้อมูลที่ทรงไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ เรื่องที่ 3 คือทรงไม่ต้องพึ่งพา digital mapping และเรื่องที่ 4 คือทรงไม่ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล่าในหนังสือ “ดุจดวงตะวัน” (ปี 2538) ว่า “ยุคแรกๆ นั้นยังไม่ค่อยมีเรื่องเสียง ท่านก็ทำให้พูด สวัสดีครับ อะไรต่อมิอะไรตั้ง 10 กว่าปี นานแล้ว"
สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้
ที่นี่