การทำเหมืองข้อมูลคืออะไร

เมืองในอนาคต เมื่อระบบทำงานแทนคนจริง ๆ ได้

ถ้าได้ติดตามข่าวสารเทคโนโลยีในช่วงปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ามีข่าวที่เกี่ยวข้องกับการใช้หุ่นยนต์ หรือตั้งระบบให้เครื่องจักรทำงานแทนมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งแนวคิดและการพัฒนาในเรื่องเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์นี้ ทำให้ภาพที่เราเคยคิดฝัน หรือเห็นแต่ในหนังไซไฟ (Sci-Fi) อาจจะเป็นจริงขึ้นมาได้ในอนาคตอันใกล้นี้

ในอดีต หุ่นยนต์ หรือ(Robot) มีรากศัพท์ที่มีความหมายว่า “ทาสผู้รับใช้” (ภาษาเช็ก) ได้ถูกวางรูปแบบให้เป็นเครื่องจักรที่สามารถคิดเองได้ และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว คนส่วนใหญ่จะมีภาพของหุ่นยนต์ในลักษณะของเครื่องจักรกลที่มีรูปร่างคล้ายสิ่งมีชีวิต เช่น คน หรือสัตว์ต่าง ๆ เช่น คนเหล็ก หรือสุนัขหุ่นยนต์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว หุ่นยนต์สามารถมีรูปร่างได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานนั่นเอง โดยแขนกลที่ใช้ในการหยิบจับชิ้นส่วนต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม น่าจะเป็นหุ่นยนต์ในยุคแรก ๆ ที่สามารถนำมาใช้งานได้จริง หรือเครื่องจักรที่อยู่ในรูปแบบของยานพาหนะ เช่น รถยนต์ หรือเครื่องบิน ที่ใช้ในการเดินทางของมนุษย์ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือในวงการการเงินการธนาคาร หุ่นยนต์แบบบ้าน ๆ ที่เราพบเจอกันทุก ๆ วัน และมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนที่มีเงินฝากในธนาคารก็คือ ตู้เอทีเอ็มนั่นเอง ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนพนักงานตรงเคาน์เตอร์ธนาคาร เพื่อฝาก ถอน โอนเงิน และในปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่าความสามารถของตู้เอทีเอ็มได้ถูกปรับปรุงขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเราสามารถทำธุรกรรมการเงินได้หลากหลายประเภทมากขึ้น โดยการใช้งานผ่านตู้เอทีเอ็มเพียงตู้เดียวเท่านั้นเองในอดีต หุ่นยนต์อาจจะทำงานได้อย่างจำกัดภายใต้คำสั่งของมนุษย์เท่านั้น และมีขนาดที่ใหญ่โต เทอะทะ ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวันเลย แต่จากความก้าวหน้าในปัจจุบัน ทำให้เราเริ่มเห็นว่า หุ่นยนต์เริ่มจะมีความคิด และตัดสินใจเองได้ จากความก้าวหน้าในการทดสอบระบบรถยนต์ที่สามารถบังคับตัวเองได้โดยไม่ต้องใช้คนขับอีกต่อไป หรือการทดสอบใช้งานรถบรรทุกอัตโนมัติแบบไร้คนขับข้ามทวีปในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นข่าวใหญ่ที่ลงในนิตยสาร Time นั้น ถ้าทำได้สำเร็จและสามารถเปิดใช้งานจริงได้ จะเป็นการพลิกโฉมความก้าวหน้าของโลกเทคโนโลยีและโลกอุตสาหกรรมได้เลยทีเดียว ซึ่งความสำเร็จทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้จากการพัฒนาความรู้เดิมที่มีอยู่ และการต่อยอดความรู้ด้านวิทยาการหุ่นยนต์ ร่วมกับความก้าวหน้าของระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถคำนวณในสิ่งที่ซับซ้อนได้เร็วขึ้น และมีขนาดที่ลดลงอย่างมาก ทำให้การพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันเริ่มมีความเป็นไปได้ที่แน่นอนขึ้นโดยในปัจจุบัน เทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ถูกนำมาใช้เพิ่มขึ้นในด้านต่าง ๆ มากมาย ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นการสำรวจอวกาศ หรือสถานที่ที่มนุษย์ไม่สามารถไปเองได้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในปัจจุบันนี้ สามารถทำได้โดยการทำงานของหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้น นอกจากนี้ หุ่นยนต์ยังช่วยเราได้มากทั้งในสนามรบและและการกู้ภัยในกรณีที่เกิดภัยพิบัติต่าง ๆ เช่น ภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น ก็ได้มีการส่งหุ่นยนต์เข้าไปสำรวจพื้นที่เสียหายแทน เนื่องจากกัมมันตภาพรังสีที่สูงจนมนุษย์ไม่สามารถเข้าไปได้ เป็นต้นจากจำนวนประชากรบนโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มีความต้องการอาหารและสิ่งของที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งการทำงานของหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ จะช่วยทำให้มนุษย์ได้ผลผลิตที่สม่ำเสมอ และมีความสามารถในการผลิตสิ่งของต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น แนวโน้มที่หุ่นยนต์จะเข้ามามีบทบาทต่อด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งของต่าง ๆ จึงมีมากขึ้นอย่างแน่นอนในปัจจุบัน มีการพัฒนานำหุ่นยนต์มาใช้งานในด้านการแพทย์เพิ่มมากขึ้น ในการช่วยงานผ่าตัดของศัลยแพทย์ (Robotic Surgery) เพื่อให้คนไข้มีการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดได้รวดเร็ว และช่วยทำให้การผ่าตัดมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ในกรณีของผู้พิการ หุ่นยนต์มีส่วนช่วยอย่างมากในการพัฒนาการเดินของผู้พิการ การพัฒนาของแขนเทียม และขาเทียม ทำให้ผู้พิการสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดีขึ้น หรือนำมาใช้ช่วยผ่อนแรงของนักกายภาพบำบัด ที่ต้องคลุกคลีกับคนไข้ที่เข้ามาทำกายภาพบำบัดในทุก ๆ วัน นั่นเองการจราจรและการขนส่ง การทำความสะอาดบ้าน และ/หรืออาคารที่มนุษย์ใช้ในการทำงาน การดูแลผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่มีการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อมารองรับความต้องการของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ซึ่งการทำงานของหุ่นยนต์ จะสร้างความสะดวกสบายให้กับชีวิตของมนุษย์ในโลกอนาคตได้อย่างแท้จริงในอนาคตนั้นบริการด้านการเงินจะถูกพัฒนาไป และอาจจะถึงขั้นไม่มีการใช้เงินสดอีกต่อไป ในปัจจุบันระบบทางการเงินก็เริ่มพัฒนาไปในทางที่กล่าวมา ยกตัวอย่างเช่น พร้อมเพย์ ที่ทำให้การโอนเงินเป็นเรื่องง่าย และด้วยระบบดังกล่าวจะทำให้ธุรกรรมทางการเงินพลิกโฉมใหม่หมด พร้อมทั้งยังมีความปลอดภัย เป็นระบบการโอนเงินแห่งอนาคตอย่างไม่ต้องสงสัยเลย โดยระบบการทำธุรกรรมทางการเงินที่ใช้ระบบผ่านทางมือถือ เว็บไซต์ พร้อมเพย์ แทนการไปที่เคาน์เตอร์ จะกลายเป็นเทรนด์ในอนาคตแน่นอนนอกจากนี้ จากความสามารถต่าง ๆ ที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เมืองในจินตนาการที่จะมีหุ่นยนต์ หรือระบบคอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมการทำงานอยู่ไม่ไกลเกินจริงอย่างแน่นอน อ่านบทความด้านนวัตกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ ที่นี่

lib : วิทยบริการและห้องสมุด

เป็นส่วนหนึ่งของไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เราจะต้องใช้บ่อย ถ้าเราแยกองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ก็จะมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ

หน่วยที่รับข้อมูลก็ได้แก่ เมาส์ (Mouse) แป้นพิมพ์ (Keyboard) กล้องดิจิตอล เครื่องสแกน (Scanner) ฯลฯ หน่วยประมวลผล หรือ CPU (Central Pocessing Unit)หน่วยแสดงข้อมูล ได้แก่ จอภาพ (มอนิเตอร์ (Monitor)) เครื่องพิมพ์ (Printer) ฯลฯแป้นพิมพ์มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการที่จะพิมพ์คำสั่ง เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน จึงน่าจะรู้องค์ประกอบของแป้นพิมพ์ และปุ่มหรือแป้นต่าง ๆ ว่าทำหน้าที่อะไร ถ้าเราแบ่งแป้นพิมพ์ (keyboard) แบ่งออกได้ 3 ส่วนคือ

Function Key หรือ คีย์พิเศษ ประกอบไปด้วย แป้น F1ถึง F12 แป้น F1 มักเป็นแป้นบอกวิธีใช้โปรแกรมนั้นๆ หรือ Help ส่วนแป้นอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละโปรแกรม หรือบางโปรแกรมเราสามารถกำหนดค่าแป้น หรือคีย์พิเศษเหลานี้ ได้ตามความต้องการแป้นคีย์พิเศษ มักจะอยู่แถวบนสุดของแป้นพิมพ์

กลุ่มแป้นพิมพ์ด้านขวาสุดจะเรียกว่า Numeric & Edit Key เรามาศึกษากลุ่มแป้นพิมพ์ Numeric Key ก่อน หรือ กลุ่มแป้นตัวเลขซึ่งประกอบด้วยเลข 0-9 ถ้าสังเกตจะเห็นว่าแป้นพิมพ์ทั้งชุดจะวางตัวเลขเหมือนเครื่องคิดเลข และมีแป้นอื่นร่วมคือ Num Lock ใช้สำหรับกดเพื่อให้สามารถใช้ตัวเลขได้ ถ้าเราสังเกตสักนิดจะเห็นว่าสถานะของ Num Lock ทำงาน กดตัวเลขไหนก็จะเป็นตัวเลขนั้น โดยสังเกตจากไฟแสดงที่ มุมขวาตรง Num Lock

แป้น / ( Slack) เป็นแป้นให้เครื่องหมายหาร คงแตกต่างจากเครื่องคิดเลขบ้างในลักษณะที่ไม่ใช้เครื่องหมาย ¸ (หาร) แบบทั่วไป

แป้น Num Lock ถ้าไม่ได้ใช้แป้นค่าตัวเลขจะไม่แสดงแต่จะแสดงคำสั่งที่อยู่ด้านล่างของแป้น เช่นกด 6 ก็จะให้เลื่อนเคอร์เซอร์ไป 1 อักขระ

แป้น Print Screen สั่งพิมพ์ตัวอักษรหรือภาพที่เห็นในหน้าจอ ออกมาทางเครื่องพิมพ์

แป้น Scroll Lock มักกำหนดค่าด้วยโปรแกรมแต่ละโปรแกรม หรือใช้ขัดจังหวะในการทำงาน

ไฟ Scroll Lock มักจะอยู่แถวเดียวกับไฟ Num Lock และ Scroll Lockและ Caps Lock

แป้น Insert หมายถึง แทรกข้อความเพิ่ม มักใช้ในโปรแกรม Words หรือ Dos ถ้าไม่กดปุ่ม Insert ก่อนจะทำให้เกิดการพิมพ์ทับข้อความที่มีอยู่แล้ว ในกรณีอยู่ที่ โปรแกรม Words ถ้าดูที่ Status Bar จะแสดงสถานะ OVR หรือ Insert ขึ้น

กลุ่มสุดท้าย กลุ่มที่ 3 คือกลุ่ม Character Key กลุ่มนี้มีแป้นเยอะมาก กลุ่มนี้จะเหมือนกับพิมพ์ดีดภาษาไทย และภาษาอังกฤษ การวางแป้นพิมพ์เหมือนกันหมด เป็นมาตรฐาน จะแตกต่างจากแป้นพิมพ์ดีดก็เพียงแต่ว่าจะมีแป้นพิเศษต่าง ๆ เพิ่มเข้ามา เริ่มจากด้านซ้ายมือบนสุด

แป้น Escape (Esc) มีหน้าที่ช่วยในการแก้ไขสถานการณ์ เช่น ทำอะไรผิดก็กด Escape

แป้น Accent Switch ใช้เปลี่ยนสลับภาษาไทย-อังกฤษ โดยกดแล้วสังเกตที่ Task Bar ของจอคอมพิวเตอร์จะแสดง Th หรือ En

แป้น Shift ทำหน้าที่ยกแคร่ชั่วคราว ใช้ได้เฉพาะขณะกดแช่แป้น มีทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา

แป้น Control (ctrl) ใช้ร่วมกับแป้นอื่นโดยกดแช่ไว้แล้วกดแป้นอื่นแล้วปล่อยพร้อมกัน มีทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา

แป้น Back Space ใช้เลื่อนเคอร์เซอร์ ลบตัวอักษรทางด้านซ้ายมือทีละ 1 ตัวอักษร หรือเลื่อนเคอร์เซอร์ไปด้ายซ้าย ถ้าอ่านแล้วศึกษา แป้นพิมพ์ที่อยู่หน้าท่านไปด้วยก็จะเข้าใจมากขึ้น การใช้แป้นพิมพ์ขึ้นอยู่กับทักษะ การใช้บ่อยๆ จะทำให้เกิดความชำนาญ ผู้ที่มีทักษะในการใช้แป้นพิมพ์ส่วนมากมักจะไม่ละมือจากแป้นพิมพ์ไปใช้ เมาส์เลย เพราะในแป้นพิมพ์สามารถใช้แทนเมาส์ได้เกือบทุกคำสั่ง

การทำเหมืองข้อมูลคืออะไร

ประวัติความเป็นมาและความก้าวหน้าของการทำเหมืองข้อมูลในปัจจุบัน

กระบวนการขุดผ่านข้อมูลเพื่อค้นหาความเชื่อมโยงที่ซ่อนอยู่และคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน บางครั้งเรียกว่า "การค้นพบองค์ความรู้ในฐานข้อมูล" ส่วนคำศัพท์ "การทำเหมืองข้อมูล" นั้นยังไม่ได้มีการใช้งานจนถึงช่วงทศวรรษที่ 1990 ทั้งนี้ รากฐานของสิ่งนี้ประกอบขึ้นจากระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ 3 อย่างที่เกี่ยวโยงกัน ได้แก่ สถิติ (การศึกษาเชิงตัวเลขของความสัมพันธ์ของข้อมูล) ปัญญาประดิษฐ์ (ปัญญาเสมือนมนุษย์ที่เกิดขึ้นจากซอฟต์แวร์และ/หรือเครื่องจักร) และการเรียนรู้ของเครื่อง (อัลกอริทึมที่สามารถเรียนรู้จากข้อมูลเพื่อสร้างการคาดการณ์) ทว่าไม่ใช่สิ่งใหม่แต่อย่างใด เนื่องจากเทคโนโลยีการทำข้อมูลมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันกับศักยภาพที่ไร้ขีดจำกัดของ Big Data และพลังการประมวลผลที่มีต้นทุนต่ำลงในปัจจุบัน

กว่าทศวรรษที่ผ่านมา ความก้าวหน้าด้านกำลังและความเร็วในการประมวลผลทำให้เราสามารถก้าวข้ามการปฏิบัติในแบบแมนนวลที่น่าเบื่อและใช้เวลานานไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลที่รวดเร็ว ง่ายดาย และเป็นแบบอัตโนมัติ ยิ่งชุดข้อมูลที่รวบรวมมีความซับซ้อนมากเท่าใดก็ยิ่งมีโอกาสค้นพบข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้องมากขึ้นเท่านั้น ร้านค้าปลีก ธนาคาร ผู้ผลิต ผู้ให้บริการโทรคมนาคมและ บริษัทประกัน และอื่นๆ มีการใช้การวิเคราะห์เหมืองข้อมูลเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างทุกอย่างนับตั้งแต่ การเพิ่มประสิทธิภาพด้านราคา โปรโมชั่น และข้อมูลประชากรไปจนถึงเศรษฐกิจ ความเสี่ยง การแข่งขัน และสื่อสังคมมีผลกระทบต่อรูปแบบการทำธุรกิจ รายได้ การดำเนินงาน และความสัมพันธ์กับลูกค้าของของพวกอย่างไร

Leave a Comment