"เอไอจับโกหก" จากกล้ามเนื้อบนใบหน้า AI ล่าสุดโลกวันนี้ อีกก้าวอนาคตอันใกล้
ล่าสุด AI "เอไอจับโกหก" จาก กล้ามเนื้อบนใบหน้า (TAU) ของ ระบุว่า คณะนักวิจัยชาวอิสราเอลได้พัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) รูปแบบใหม่ ที่สามารถตรวจจับการโกหกจากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบนใบหน้า ซึ่งอาจนำไปสู่การพัฒนากล้องและซอฟต์แวร์ที่จะช่วยตรวจจับการโกหกในหลาย ๆ สถานการณ์จริง
ผลการศึกษา "เอไอจับโกหก" ซึ่งได้รับการเผยแพร่ลงบนวารสาร เบรน แอนด์ บีเฮฟวีเออร์ (Brain and Behavior) ระบุว่า คณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ แบ่งคนโกหกออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจะขยับกล้ามเนื้อแก้มเมื่อโกหก ส่วนกลุ่มที่สองจะขยับคิ้ว การศึกษานี้ใช้นวัตกรรมการพิมพ์สติกเกอร์บนพื้นผิวอ่อนนุ่มซึ่งมีขั้วไฟฟ้า ซึ่งเป็นนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ ในการตรวจสอบและวัดความเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท
คณะนักวิจัย ระบุว่า ในอนาคต "เอไอจับโกหก" อาจไม่จำเป็นต้องใช้ตัวนำไฟฟ้าต่อไป หากมีการใช้ซอฟต์แวร์วิดีโอที่สามารถตรวจจับการโกหกจากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบนใบหน้าได้ พร้อมให้ข้อสรุปว่า หากนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้กับกล้องคุณภาพสูง ก็อาจเป็นประโยชน์ต่อการตรวจจับการโกหกในธนาคาร สนามบิน การสืบสวนของตำรวจ และการสัมภาษณ์งานทางออนไลน์ได้
กูเกิลสั่งพักงานวิศวกรที่อ้างว่าพบ AI ที่มีความรู้สึก
บริษัทอัลฟาเบท อิงค์ สั่งพักงานนายเลอโมน โดยยังจ่ายเงินเดือนให้เมื่อต้นสัปดาห์ที่แล้ว โดยอ้างว่านายเลอโมนละเมิดนโยบายรักษาความลับของบริษัท หลังนายเลอโมน ระบุในโพสต์ของมีเดียม (Medium) หัวข้อว่า "อาจถูกไล่ออกเร็วๆ นี้เพราะทำเรื่องจริยธรรมของ AI"
ในโพสต์ดังกล่าว นายเลอโมน สร้างความเชื่อมโยงกับอดีตสมาชิกกลุ่มจริยธรรมของ AI ของกูเกิล เช่น มากาเร็ต มิทเชลล์ ซึ่งถูกไล่ออกจากบริษัทในวิธีคล้ายกันนี้หลังแสดงความกังวลเรื่องดังกล่าว
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า ปัญหาด้านจริยธรรมของ AI ของกูเกิลเกิดขึ้นนานแล้วก่อนจะมีการเปิดเผยต่อสาธารณะ
เมื่อวันเสาร์ (11 มิ.ย.) สำนักข่าววอชิงตัน โพสต์ ทำการสัมภาษณ์นายเลอโมน ซึ่งระบุว่า ตัวเขาได้ข้อสรุปว่า AI ของกูเกิลที่เขาโต้ตอบด้วยนั้นเป็นคน "ในฐานะที่เขาเป็นนักบวช ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์" AI ที่กล่าวถึงนั้นมีชื่อว่าแลมด้า (แบบจำลองภาษาสำหรับการใช้งานด้านการสนทนา - Language Model for Dialogue Applications: LaMDA) และถูกใช้เพื่อสร้างแชทบอทที่โต้ตอบกับผู้ใช้ที่เป็นมนุษย์ด้วยการจำลองบุคลิกภาพที่หลากหลายมาใช้
นายเลอโมน กล่าวว่า เขาพยายามทำการทดลองเพื่อพิสูจน์เรื่องดังกล่าว แต่ถูกผู้บริหารอาวุโสของบริษัทปฏิเสธหลังเขายกเรื่องดังกล่าวขึ้นมาพูดเป็นการภายในบริษัท
จะกลัวหรือจะทึ่งดี…วิศวกรจาก Google อ้างว่าระบบ AI บอกตัวเองมีความรู้สึกนึกคิดเป็นมนุษย์คนนึง
Ball of confusion: One of Google's (former) ethics experts doesn't understand the difference between sentience (aka subjectivity, experience), intelligence, and self-knowledge. (No evidence that its large language models have any of them.)
— Steven Pinker (@sapinker) June 12, 2022